Loading ...

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำสาละวิน

              ลุ่มน้ำสาละวินมีลำน้ำสายหลัก คือแม่น้ำสาละวิน เป็นแม่น้ำนานาชาติ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ในพื้นที่แคว้นทิเบต มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 367,800 ตร.กม. ไหลผ่านทางตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางตะวันออกของประเทศสหภาพพม่า และทางตะวันตกของประเทศไทย โดยไหลผ่านตามแนวเขตแดนของประเทศไทยและประเทศสหภาพพม่า ก่อนไหลออกจากประเทศไทย บริเวณบ้านสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้ววกกลับเข้าประเทศพม่าอีกครั้งก่อนไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่ Moulmein ในเขตประเทศสหภาพพม่า

              มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา ของคณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ ได้มีการแบ่งลุ่มน้ำสาละวินเป็น  17  ลุ่มน้ำสาขา ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำได้มีการจัดทำระเบียนข้อมูลระบบลุ่มน้ำและเขตการปกครองของประเทศไทย เมื่อปี 2554 โดยพัฒนาจากข้อมูล GIS ลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขา และข้อมูล  GIS ขอบเขตการปกครอง เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้ทั้ง 2 ระบบ โดยมีรายละเอียดขอบเขตลุ่มน้ำสาขาและระบบลุ่มน้ำดังนี้

              1)       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ปายตอนบน (0102) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,148.03 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 6.01 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แม่น้ำปายมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแดนลาวไหลในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก

              2)       ลุ่มน้ำสาขาห้วยแม่สา (0103) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 487.04 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.55 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              3)       ลุ่มน้ำสาขาน้ำของ (0104) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา  683.56 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 3.58 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปางมะผ้า อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              4)       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ปายตอนล่าง (0105) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 2,371.65 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 12.41 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              5)       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สะมาด (0106) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,014.00 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.31 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอขุนยวม อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              6)       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สุรินทร์ (0107) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 530.79 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอขุนยวม อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              7)       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำยวมตอนบน (0108) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,228.97 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 6.43 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แม่น้ำยวมมีต้นกำเนิดจากเทือกเขากั้นเขตแดนไทย-พม่าไหลในแนวทิศเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตก

              8)       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาหลวง (0109) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 478.40 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.50 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              9)       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำยวมตอนล่าง (0110) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,685.97 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.82 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              10)     ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สะเรียง (0111) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 380.44 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.99 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              11)     ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ริด (0112) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,370.27 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 7.17 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              12)     ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่เงา (0113) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 936.54 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 4.90 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              13)     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวินตอนบน (0114) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,236.19 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 6.47 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              14)     ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่แงะ (0115) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 658.30 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 3.44 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

              15)     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำเมยตอนบน (0116) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,106.00 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.79 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพบพระ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แม่น้ำเมยมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแดนลาวที่อำเภอขุนยวมไหลในแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

              16)     ลุ่มน้ำสาขาห้วยแม่ละเมา (0117) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 1,638.14 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.57 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังเจ้า อำเภอพบพระ อำเภอเมืองตาก อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

              17)     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำเมยตอนล่าง (0118) มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา 2,151.62  ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 11.26 ของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ที่มา :      ระเบียนข้อมูลระบบลุ่มน้ำและเขตการปกครองของประเทศไทย กรมทรัพยากรน้ำ, 2554

              โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำโขง

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบน (0202)

                        แม่น้ำโขงตอนบนมีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 1,107.51 ตารางกิโลเมตรหรือ 692,195 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.94 ของพื้นที่ลุ่มน้ำโขง อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (เหนือ) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบนถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้วยลุ่มน้ำกก คือ ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบนส่วนที่ 1 และลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบนส่วนที่ 2 โดยลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบนส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำกก แม่น้ำสายสำคัญในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบนส่วนที่ 1 คือ น้ำแม่มะ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยตุงในเขตตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ความยาวของลำน้ำแม่มะประมาณ 50 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ย 1:500 โดยบริเวณต้นน้ำจะมีความลาดชันประมาณ 1:65 ไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงแม่สายที่บ้านเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ยังมีห้วยเกี้ยง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสั้นๆ ที่ไหลลงแม่น้ำโขงโดยตรง

            สำหรับลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบนส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำกก แม่น้ำสายสำคัญในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนบนส่วนที่ 2 คือ น้ำแม่บง มีต้นกำเนิดจากดอยกิ่วนกในเขตตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ความยาวของลำน้ำแม่บงประมาณ 55 กิโลเมตร ไหลไปทางทิศตะวันตกบรรจบกับห้วยป่าไร่ แล้วไหลขนานมาตามแนวลำน้ำแม่กกบรรจบกับห้วยแอบหลวง และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่บ้านสบกก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายสั้นๆ ไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง ได้แก่ ห้วยกว๊าน น้ำแม่เงิน ห้วยเม็ง ห้วยน้ำสม เป็นต้น

              2.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่จัน (น้ำแม่คา) (0203)

                        น้ำแม่จัน มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 1,193.17 ตารางกิโลเมตร หรือ 745,733 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.09 ของพื้นที่ลุ่มน้ำโขง อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (เหนือ) มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ น้ำแม่ค้า และน้ำแม่จัน น้ำแม่ค้า มีความยาวของลำน้ำประมาณ 131 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:500 โดยบริเวณต้นน้ำมีความลาดชันประมาณ 1:200 กลางน้ำประมาณ 1:500 และท้ายน้ำประมาณการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ลุ่มน้ำโขง โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำ ASD/NRW/WE/RT5402/P1920/RT250 5 1:1,000 ในส่วนของน้ำแม่จัน มีความยาวประมาณ 51 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันมีการรุกล้าลำน้ำทำให้ลำน้ำแคบและตื้นเขิน ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยในช่วงบริเวณตั้งแต่อำเภอแม่จันจนไปถึงจุดบรรจบน้ำแม่ค้า ดังนั้นปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงส่วนใหญ่จึงเป็นน้ำที่มาจากลำน้ำแม่ค้า ลำน้ำย่อยที่สำคัญของลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่จัน ได้แก่ ห้วยแม่เมาะ ห้วยแสลบ น้ำแม่สลอง น้ำแม่เปิน เป็นต้น น้ำแม่ค้า มีต้นกำเนิดจากภูเขาตามแนวชายแดนในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านอำเภอแม่ฟ้าหลวง แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่ที่ราบลุ่มบรรจบกับน้ำแม่จันที่บ้านสันมะเค็ด ในเขตอำเภอแม่จัน จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตอำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปลงแม่น้ำโขงที่บ้านสบค้า ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

              3.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (0204)

                        แม่น้ำอิงตอนบน มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 892.69 ตารางกิโลเมตรหรือ 577,932 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.56 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (เหนือ) ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำของแม่น้ำอิงจนถึงกว๊านพะเยา ความยาวของลำน้ำอิงในช่วงนี้ประมาณ 34 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:2,500 แม่น้ำอิงมีต้นกำเนิดจากภูเขาตามแนวเขตจังหวัดพะเยากับจังหวัดลำปาง ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านอำเภอแม่ใจ แล้วไหลไปทางทิศใต้ลงสู่กว๊านพะเยาที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ลำน้ำย่อยที่ไหลลงแม่น้ำอิง ได้แก่ น้ำแม่ปืม และน้ำเหยียน นอกจากนี้ยังมีลำน้ำย่อยสายสั้นๆ ที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยาโดยตรง ได้แก่ ห้วยตุ้ม น้ำแม่เรือ ห้วยแม่ต้า เป็นต้น และแหล่งน้ำที่สำคัญ 2 แห่ง ได้แก่ กว๊านพะเยา และหนองเล็งทราย โดยมีรายละเอียดดังนี้

                        - กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยที่ปลายด้านใต้ของแนวภูเขาดอยห้วยน้ำขาวและแนวภูเขาดอยสันกลาง เป็นแหล่งรับน้ำจากแม่น้ำและลำห้วยโดยรอบ ด้านทิศตะวันออกของกว๊านพะเยาเป็นที่ตั้งของชุมชน ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นที่ราบกว้างซึ่งมีความลาดเทจากภูเขาลงสู่กว๊าน

                        - หนองเล็งทรายเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ในอดีตเคยมีทางน้ำเชื่อมต่อกับหนองฮ่างซึ่งอยู่ในเขตอำเภอพาน ปัจจุบันทางน้ำตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ บริเวณตอนใต้ของหนองมีฝายน้ำล้น โดยน้ำที่ล้นจะไหลลงสู่แม่น้ำอิงและไหลลงสู่กว๊านพะเยา นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่ด้านทิศใต้ตำบลแม่ใจได้มีการขุดสระเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาให้แก่ชุมชน

              4.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนกลาง (0205)

                        แม่น้ำอิงตอนกลาง มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 2,182.71 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,364,196 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.82 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (เหนือ) ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่กว๊านพะเยาจนถึงจุดบรรจบแม่ลาว ความยาวของลำน้ำอิงในช่วงนี้ ประมาณ 158 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:6,500 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ ร่องขุ่ย ร่องบ่อ ร่องช้าง แม่น้ำพุง น้ำจุน น้ำแม่ลอย แม่ลาว เป็นต้น แม่น้ำอิงที่อยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนกลาง เริ่มตั้งแต่จุดออกของกว๊านพะเยา ไหลไปทางทิศเหนือตามเส้นแบ่งขอบเขตอำเภอเมืองกับอำเภอดอกค้าใต้จนถึงจุดบรรจบแม่น้ำพุง แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่เขตอำเภอจุน จังหวัดพะเยา จากนั้นไหลไปทางทิศเหนือ แล้วไหลเข้าสู่เขตอำเภอเทิงไปบรรจบแม่ลาวทางฝั่งขวาของลำน้ำบริเวณตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

              5.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำพุง (0206)

                        แม่น้ำพุง มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 1,117.85 ตารางกิโลเมตร หรือ 698,657 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.96 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (เหนือ) มีแม่น้ำพุงซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำอิงเป็นลำน้ำสายหลัก ความยาวของลำน้ำประมาณ 100 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:1,500 โดยบริเวณต้นน้ามีความลาดชันประมาณ 1:400 กลางน้ำประมาณ 1:20,000 และท้ายน้ำประมาณ 1:1,000 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ ล่องเคียน น้ำแม่แก้ว น้ำแม่อ้อ น้ำแม่ฮ่าง ห้วยเอียง เป็นต้น แม่น้ำพุง มีต้นกำเนิดจากภูเขาในเขตอำเภอพาน ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านตำบลป่าแงะ ตำบลป่าแดด แล้วไหลไปลงแม่น้ำอิงที่บริเวณตำบลสันมะค่า อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา

              6.       ลุ่มน้ำสาขาแม่ลาว (0207)

                        แม่ลาว มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 1,346.93 ตารางกิโลเมตร หรือ 841,834 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.36 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในลุ่มน้ำโขง (เหนือ) ความยาวของลำน้ำแม่ลาวประมาณ 97 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:600 โดยบริเวณต้นน้ำมีความลาดชันประมาณ 1:150 กลางน้ำประมาณการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ลุ่มน้ำโขง โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำ ASD/NRW/WE/RT5402/P1920/RT250 6 1:4,500 และท้ายน้ำประมาณ 1:5,000 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่วาน น้ำแม่ญวน น้ำแม่เปือย น้ำแม่หงาว เป็นต้น น้ำแม่ลาว มีต้นกำเนิดจากแนวเทือกเขาทางตอนใต้ของลุ่มน้ำในเขตอำเภอเชียงค้า ไหลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอเชียงค้า แล้วไหลลงสู่ที่ราบลุ่ม จากนั้นไหลไปบรรจบกับน้ำแม่หงาว แล้วไหลลงสู่แม่น้ำอิงในเขตอำเภอเทิง สภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำสาขาแม่ลาวเป็นภูเขาสูงล้อมรอบสลับกับที่ราบลุ่มเชิงเขา มีที่ราบลุ่มอยู่บริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำ

              7.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนล่าง (0208)

                        แม่น้ำอิงตอนล่าง มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 1,697.92 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,061,201 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.97 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในลุ่มน้ำโขง (เหนือ) ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จุดบรรจบแม่ลาวจนถึงจุดบรรจบแม่น้ำโขง ความยาวของลำน้ำอิงในช่วงนี้ ประมาณ 133 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ย1:3,500 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่ต๊าก น้ำแม่ต้า ห้วยช้าง เป็นต้น แม่น้ำอิงที่อยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนล่าง เริ่มตั้งแต่จุดบรรจบแม่ลาวในเขตอำเภอเทิง ไหลจากทิศเหนือไปทางทิศใต้จนถึงเขตรอยต่อระหว่างอำเภอพญาเม็งรายและอำเภอขุนตาล จึงไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตอำเภอเชียงของ แล้วไหลไปลงแม่น้ำโขงที่บริเวณตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

              8.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงส่วนที่ 2 (0209)

                        แม่น้ำโขงส่วนที่ 2 มีพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาประมาณ 489.11 ตารางกิโลเมตรหรือ 305,695 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.86 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในลุ่มน้ำโขง (เหนือ) มีน้ำแม่งาวเป็นลำน้ำสายหลักความยาวของลำน้ำประมาณ 51 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:350 โดยบริเวณต้นน้ำมีความลาดชันประมาณ 1:150 กลางน้ำประมาณ 1:250 ละท้ายน้ำประมาณ 1:350 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยม่วง ห้วยหานห้วยคุ ห้วยโป่งหลวง ห้วยผาตั้ง ห้วยสาน ห้วยติ้ว น้ำค้า น้ำวอง เป็นต้น น้ำแม่งาวไหลจากบริเวณเทือกเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยประมาณ บริเวณต้นน้ำมีความลาดชันสูงสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงส่วนที่ 2 ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง มีที่ราบลุ่มอยู่บริเวณตอนปลายของลุ่มน้ำ

              9.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงส่วนที่ 3 (0210)

                        แม่น้ำโขงส่วนที่ 3 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 679.17 ตารางกิโลเมตร หรือ424,484 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.19 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ประกอบด้วยแนวเขาล้อมรอบทั้งทางด้านทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออกมีความสูงประมาณ 1,000 ม.รทก. และค่อยๆ ลาดลงทางด้านทิศเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาสูงและเป็นต้นน้ำของลำน้ำสาขาเล็กๆ ที่ลาดชันหลายสายไหลลงสู่ลำน้ำเหืองซึ่งเป็นลำน้ำของแม่น้ำโขงทางด้านทิศเหนือ โดยมีลำน้ำสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ น้ำหู ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำประมาณ 378 ตารางกิโลเมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 56 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด

              10.     ลุ่มน้ำสาขาน้ำหมัน (0211)

                        น้ำหมัน  มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 624.24 ตารางกิโลเมตร หรือ 390,153ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.09 ของพื้นที่ที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ประกอบด้วยแนวเขาสูงเกือบตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ มีพื้นที่ราบเป็นส่วนน้อยเฉพาะบริเวณลำน้ำหมันซึ่งอยู่ตอนกลางของพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบๆ ตามแนวลำน้ำจากช่วงกลางของลุ่มน้ำไปจนจรดลำน้ำเหือง แนวเขาทางทิศใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนมีสภาพเป็นภูเขาสูงชันมีระดับความสูงประมาณ 1,600 ม.รทก.และค่อยลดหลั่นลงมาทางทิศเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างเหลือระดับความสูงประมาณ 600 ม.รทก.

              11.     ลุ่มน้ำสาขาน้ำสาน (0212)

                        น้ำสาน  มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 851.45 ตารางกิโลเมตร หรือ 532,155 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ประกอบด้วยแนวเขาสูงเกือบตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำมีระดับความสูงประมาณ 1,300 ม.รทก. และค่อยๆ ลาดเทลงมาบริเวณตอนกลางของพื้นที่ซึ่ง มีลักษณะเป็นที่ลาดค่อนข้างชัน มีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อยเฉพาะบริเวณริมลำน้ำสายหลัก ได้แก่ ลำน้ำสาน และห้วยน้ำหมัน

              12.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงส่วนที่ 4 (0213)

                        แม่น้ำโขงส่วนที่ 4 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 822.26 ตารางกิโลเมตร หรือ 513,910 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.44 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมการดาเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ลุ่มน้ำโขงโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำ ASD/NRW/WE/RT5402/P1920/RT250 7 พื้นที่อำเภอท่าลี่ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประกอบด้วยแนวเขากระจายตัวอยู่ตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะแนวเขาทางด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำมีระดับความสูงประมาณ 600 ม.รทก. และระดับความสูงของแนวเขาจะค่อย ๆ ลดลง ทางทิศเหนือจะเหลือระดับความสูงประมาณ 300 ม.รทก. แนวเขาเหล่านี้ก่อให้เกิดลำน้ำสาขาเล็ก ๆ ที่ลาดชันหลายสายไหลลงสู่ลำน้ำเหืองซึ่งเป็นลำน้ำโขงทางด้านทิศเหนือ โดยมีลำน้ำสาขาขนาดใหญ่ที่สุดคือ น้ำคาน ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำประมาณ 320 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่รับน้ำ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่ราบเกือบทั้งหมดของลุ่มน้ำ จะอยู่บริเวณพื้นที่ตอนล่างของลำน้ำคาน

 

 

              13.     ลุ่มน้ำสาขาห้วยน้ำปวน (0214)

                        ห้วยน้ำปวน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,055.45 ตารางกิโลเมตร หรือ659,654 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.85 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาด้วง อำเภอเมือง อำเภอวังสะพุง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ประกอบด้วยลำน้ำสาขาที่สำคัญ 2สาย คือลำน้ำสวนซึ่งไหลจากแนวเขาทางทิศเหนือลงสู่ทิศใต้มาบรรจบกับลำน้ำปวนซึ่งไหลจากที่ลาดสูงจากทางทิศเหนือก่อนจะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเลย สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลาดเทมีความชันไม่มากนักจากต้นน้ำมายังลำน้ำสายหลักและมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบบริเวณ 2 ฝั่งลำน้ำสายหลัก ตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำมีแนวเขาสูงไม่มากนักโดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำของลำน้ำสวยซึ่งมีระดับความสูงประมาณ 600 ม.รทก.

              14.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำเลยตอนล่าง (0215)

                        แม่น้ำเลยตอนล่าง พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,946.80 ตารางกิโลเมตร หรือ1,841,752 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.15 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอภูหลวง อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอภูกระดึง อำเภอเมืองเลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยประกอบด้วยแนวเขาสูงชันทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำและก่อให้เกิดลำน้ำสาขาที่สำคัญหลายสายได้แก่ น้ำเลย น้ำคู้ น้ำทบ น้ำฮวย น้ำลาย และ น้ำหมาน โดยแนวเขาที่มีระดับสูงอยู่ทางด้านทิศใต้ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำเลย มีระดับความสูงประมาณ 1,500 ม.รทก.และค่อยๆ ลดหลั่นลงมาทางทิศเหนือสภาพพื้นที่ 2 ฝั่งลำน้ำเลยตอนบนก่อนถึงอำเภอวังสะพุงเป็นพื้นที่สูงและลาดชัน หลังจากนั้นจะมีลักษณะเป็นที่ราบระหว่างแนวเขา มีความกว้างรวม 2 ฝั่งลำน้ำประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำจะเป็นพื้นที่ราบและที่ลาดผืนใหญ่ ก่อนลำน้ำเลยจะบรรจบกับแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน

              15.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงส่วนที่ 5 (0216)

                        แม่น้ำโขงส่วนที่ 5 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,744.07 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,090,042 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.05 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม จังหวัดเลย อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วยแนวเขากระจายอยู่เกือบตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยมีระดับความสูงประมาณ 600 ม.รทก. แนวเขาเหล่านี้ ก่อให้เกิดลำน้ำสาขาเล็กๆ ที่ลาดชันหลายสายจากทางทิศใต้ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านทิศเหนือ โดยมีลำน้ำสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สำคัญ 2 สายคือ ห้วยน้ำชมและห้วยสะงาวซึ่งมีพื้นที่รับน้ำรวมกันประมาณ 786 ตารางกิโลเมตร หรือ คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 45ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและพื้นที่ลาดชัน มีพื้นที่ราบไม่มากนักบริเวณลำน้ำฮวยซึ่งเป็นลำน้ำสาขาทางทิศตะวันตกของพื้นที่ซึ่งติดกับลุ่มน้ำเลยซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเชียงคาน บริเวณที่ราบริมลำน้ำของห้วยน้ำชม และห้วยสะงาว และที่ราบบริเวณริมแม่น้ำโขงที่กระจายกันอยู่เท่านั้น

              16.     ลุ่มน้ำสาขาห้วยน้ำโสม (0217)

                        ห้วยน้ำโสม มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,061.10 ตารางกิโลเมตร หรือ 663,189 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.86 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านผือ อำเภอนายูง อำเภอน้าโสม จังหวัดอุดรธานี อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วยแนวเขาสูงทางทิศตะวันออก ของพื้นที่ โดยแนวเขาทางทิศตะวันตกจะมีระดับความสูงประมาณ 600 ม.รทก. ซึ่งสูงกว่าทางทิศตะวันออกที่มีระดับประมาณ 500 ม.รทก. จากแนวเขาทั้ง 2 ด้าน จะค่อยลดหลั่นและลาดเทลงสู่ลำน้ำที่อยู่ตอนกลางพื้นที่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและพื้นที่ลาดชัน มีพื้นที่ราบไม่มากนักโดยที่ราบส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ตาม 2 ฝั่ง ลำน้ำเป็นแห่งๆ ไป

              17.     ลุ่มน้ำสาขาน้ำโมง (0218)

                        น้ำโมง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,681.43 ตารางกิโลเมตร หรือ1,675,891 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.69 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย อำเภอน้าโสมการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ลุ่มน้ำโขงโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำ ASD/NRW/WE/RT5402/P1920/RT250 8 อำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคายประกอบด้วยส่วนปลายของแนวเทือกเขาภูพาน กั้นระหว่างพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนซึ่งอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกประกอบด้วยแนวเขาทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นต้นน้ำของห้วยโมง มีระดับความสูงประมาณ 500 ม.รทก. ส่วนต้นน้ำของลำน้ำสาขาอื่นๆ ที่อยู่ทางทิศใต้เป็นเพียงเนินเขาและพื้นที่ลาดเทสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบถึงราบเรียบมีเพียงลุ่มน้ำสาขาห้วยทอนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลุ่มน้ำมีสภาพเป็นภูเขาสูงและที่ลาดชันเนื่องจากเป็นส่วนปลายของเทือกเขาภูพาน

              18.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงส่วนที่ 6 (0219)

                        แม่น้ำโขงส่วนที่ 6 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 617.71 ตารางกิโลเมตร หรือ386,067 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมือง และอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำโขง ดังนั้นสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จึงประกอบด้วยพื้นที่ราบเรียบส่วนใหญ่ มีหนอง บึง กระจายอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างมาก และมีลำน้ำสายสั้นๆ หลายสายไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง

              19.     ลุ่มน้ำสาขาน้ำสวย (0220)

                        น้ำสวย มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,321.91 ตารางกิโลเมตร หรือ 826,192ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.31 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสระใคร อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อำเภอบ้านผือ อำเภอเพ็ญ จังหวัด อุดรธานีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเรียบโดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำซึ่งอยู่ทางทิศเหนือใกล้จุดบรรจบแม่น้ำโขง จะมีหนอง บึง กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนพื้นที่ตอนบนซึ่งอยู่ทางทิศใต้จะมีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดและเนินเตี้ยๆ เล็กน้อยบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ และมีลำน้ำสาขาย่อยๆ กระจายอยู่ทั่วไป

 

 

              20.     ลุ่มน้ำสาขาห้วยหลวง (0221)

                        ห้วยหลวง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,427.51 ตารางกิโลเมตร หรือ2,142,193 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.99 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองหาน อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายขอบเขตลุ่มน้ำทางเหนือจรดแม่น้ำโขงเขตแดนประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างห้วยหลวงกับแม่น้ำสงคราม และห้วยคอง ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้จรดเขาภูพานบนแนวสันปันน้ำ พื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มจะอยู่ตามแนวลำน้ำห้วยหลวงและบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงทุกปีในฤดูฝนจะอยู่ตามแนวลำน้ำห้วยหลวงตั้งแต่จุดบรรจบห้วยหลวงกับห้วยดานจนถึงจุดบรรจบห้วยหลวงกับแม่น้ำโขง รัศมีประมาณ 1-3 กิโลเมตร ตอนใต้ของลุ่มน้ำมีแนวเขาภูพานโอบจากด้านทิศตะวันตกมาถึงทิศใต้พื้นที่ลาดชันลงมาจนสุดแนวที่เขื่อนห้วยหลวง พื้นที่ลุ่มน้ำส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว พืชไร่ กระจายทั้งลุ่มน้ำ ยกเว้นทางตอนใต้ของลุ่มน้ำซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำ

              21.     ลุ่มน้ำสาขาห้วยดาน (0222)

                        ห้วยดาน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 694.58 ตารางกิโลเมตร หรือ 434,111ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอหนองหาน อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอทุ่งฝน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ขอบเขตพื้นที่ทางด้านทิศเหนืออยู่บนจุดบรรจบระหว่างห้วยดานกับห้วยหลวง ด้านทิศตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างห้วยดานและแม่น้ำสงคราม ทางทิศตะวันตกอยู่บนแนวสันปันน้ำห้วยดานและห้วยหลวง ทางทิศใต้อยู่บนแนวปันลุ่มน้ำโขง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) และลุ่มน้ำชี สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบพื้นที่ลาดจากทางทิศใต้และทิศตะวันออกมาทางทิศเหนือ ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 170-190 ม.รทก.

              22.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงส่วนที่ 7 (0223)

                        แม่น้ำโขงส่วนที่ 7 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,370.29 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,481,431 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.15 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอศรีวิไล อำเภอปากคาด อำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลงจังหวัดหนองคาย อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้าทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกจรดแม่น้ำโขง ช่วงกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ลุ่มน้ำโขงโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำ ASD/NRW/WE/RT5402/P1920/RT250 9 ประชาธิปไตยประชาชนลาว ส่วนทางทิศใต้อยู่แนวสันปันน้ำแม่น้ำสงคราม ห้วยคอง ห้วยฮี กับลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบบริเวณติดแม่น้ำโขงระดับความสูงประมาณ 150 ม.รทก. ในแนวรัศมีจากแม่น้ำโขงประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถัดขึ้นไปทางทิศใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ำจะเป็นที่ดอนระดับความสูงประมาณ 190 ม.รทก. มีที่ราบตามแนวลำน้ำค่อนข้างน้อย แนวเขาที่เป็นแนวสันปันลุ่มน้ำคือภูลังกา ปันลุ่มน้ำระหว่างแม่น้ำโขงส่วนที่ 7 กับแม่น้ำสงครามตอนล่าง ส่วนภูเขาที่อยู่ในลุ่มน้ำทั้งลูกคือ ภูวัว ซึ่งเป็นต้นน้ำของห้วยบังบาตร และมีระดับความสูงอยู่ที่ระดับประมาณ 400 ม.รทก.

              23.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสงครามตอนบน (0224)

                        แม่น้ำสงครามตอนบน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,302.63 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,064,146 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.78 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อำเภอบ้านม่วง อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร อำเภอบ้านดุง อำเภอทุ่งฝน อำเภอหนองหาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ขอบเขตลุ่มน้ำทางเหนืออยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างแม่น้ำสงครามกับห้วยฮี และห้วยคอง ด้านทิศตะวันออกจะแบ่งแม่น้ำสงครามเป็นลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสงครามตอนล่างที่จุดบรรจบห้วยคองกับแม่น้ำสงคราม ด้านทิศตะวั

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำกก

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.      ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ฝาง

                        น้ำแม่ฝาง มีต้นน้ำอยู่บริเวณดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโท ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ไหลไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอฝาง แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำกกที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ความยาวของลำน้ำแม่ฝางประมาณ 122 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:750 โดยบริเวณต้นน้ำมีความลาดชันประมาณ 1:200 กลางน้ำประมาณ 1:1,500 และท้ายน้ำประมาณ 1:18,000 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่ทะลบ น้ำแม่งอนน้อย น้ำแม่มาว น้ำแม่นาวาง น้ำแม่สาว และน้ำแม่แหลงหลวง เป็นต้น

              2.      ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาว

                        น้ำแม่ลาว มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ไหลไปทางทิศเหนือผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า เข้าสู่อำเภอแม่สรวย จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอพานกับอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายจนไปบรรจบกับแม่น้ำกกที่บ้านป่าตง ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ความยาวของลำน้ำแม่ลาว ประมาณ 210 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:1,000 โดยบริเวณต้นน้ำมีความลาดชันประมาณ 1:500 กลางน้ำประมาณ 1:1,000 และท้ายน้ำประมาณ 1:2,000 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่โถ น้ำแม่เจดีย์ น้ำแม่ฉางข้าว น้ำแม่ปูนหลวง น้ำแม่ต้า น้ำแม่ยางมิน น้ำตาช้าง น้ำแม่สรวย และน้ำแม่กรณ์น้อย เป็นต้น

              3.      ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย

                        น้ำแม่สรวย มีต้นน้ำอยู่บริเวณดอยแม่วังน้อยและดอยหลุมข้าว ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยน้ำแม่สรวยไหลลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไหลไปบรรจบกับน้ำแม่ลาวที่บ้านกาด ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ความยาวของลำน้ำแม่สรวย ประมาณ 60 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:200

              4.      ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่กกตอนล่าง

                        น้ำแม่กก มีต้นกำเนิดมาจากภูเขาทางเหนือในรัฐเชียงตุง สหภาพพม่า ไหลมาทางทิศใต้เข้าสู่เขตประเทศไทยที่ช่องน้ำแม่กก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และมีน้ำฝางไหลมารวมที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่อำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปลงแม่น้ำโขงที่บ้านสบกก  ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ความยาวของแม่น้ำกกเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 157 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 1:1,500 ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่ฝาง น้ำเมืองงาม ห้วยน้าริน ห้วยลู ห้วยหมากเลี่ยม น้ำแม่ยาว น้ำแม่กรณ์ น้ำแม่ลาว และห้วยเผือ เป็นต้น

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ  

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำชี

              ลำน้ำสาขาที่สำคัญในลุ่มน้ำชี ได้แก่ น้ำพรม น้ำเชิญ น้ำพอง ลำน้ำปาว และน้ำยัง โดยน้ำพรมที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาดงพญาเย็น ซึ่งเป็นสันปันน้ำของลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำป่าสัก ไหลผ่านจังหวัดชัยภูมิมาบรรจบกับน้ำเชิญ แล้วไหลมาลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ น้ำเชิญมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาดงพญาเย็น ซึ่งเป็นสันปันน้ำของลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำป่าสักเช่นเดียวกับน้ำพรมไหลผ่านจังหวัดชัยภูมิเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น แล้วไหลมาลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เช่นกัน น้ำพองมีต้นกำเนิดมาจากภูกระดึง ไหลผ่านภูกระดึง และอำเภอต่างๆ ในจังหวัดเลยเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น ก่อนบรรจบกับแม่น้ำชีที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ลำน้ำปาวมีต้นกำเนิดมาจากหนองหาน กุมภวาปี ในจังหวัดอุดรธานี ไหลผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ มาบรรจบกับแม่น้ำชีที่กิ่งอำเภออ่องคา ลำน้ำยังมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภูพานซึ่งเป็นสันปันน้ำของลุ่มน้ำชีกับลุ่มน้ำสงคราม ไหลผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดร้อยเอ็ด มาบรรจบกับแม่น้ำชีก่อนถึงอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำชี ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ, 2548 โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำมูล

              ลุ่มน้ำมูล แบ่งตามสภาพภูมิประเทศออกเป็น 2 ส่วน คือ ลุ่มน้ำมูลตอนบน และลุ่มน้ำมูลตอนล่างมีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำสายหลัก นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่างๆ อีกหลายสาย ลำน้ำสาขาที่สำคัญๆ มีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาลำตะคอง

                        ลำตะคอง มีต้นกำเนิดบริเวณสันปันน้ำของลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำนครนายกไหลผ่านอำเภอปากช่อง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และบรรจบกับแม่น้ำมูลท้ายน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำลำตะคองทำให้อ่างเก็บน้ำลำตะคองสามารถใช้เพื่อการชลประทานมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,318 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 510 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ2.62 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              2.       ลุ่มน้ำสาขาลำพระเพลิง

                        ลำพระเพลิง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำนครนายกไหลผ่าน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาในลำพระเพลิงมีการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,324 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 367 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 1.89 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              3.       ลุ่มน้ำสาขาลำปลายมาศ

                        ลำปลายมาศ มีต้นกำเนิดจากบริเวณเทือกเขาพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยไหลผ่านอำเภอล้าปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และบรรจบแม่น้ำมูลที่ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,941 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 457 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 2.18 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              4.       ลุ่มน้ำสาขาลำชี

                        ลำชี มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบริเวณ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ไหลผ่านอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณเหนือน้ำ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์เล็กน้อย มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 5,061 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 904 ล้าน ลบ.ม.หรือประมาณร้อยละ 4.63 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

 

 

              5.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยทับทัน

                        ห้วยทับทัน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบริเวณ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ไหลผ่านอำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ และบรรจบแม่น้ำมูลที่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,680 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 897 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 4.64 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              6.       ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร

                        ลำเชียงไกร มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำป่าสัก ไหลผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และไหลลงบรรจบแม่น้ำมูลก่อนถึง อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,958 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ263 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 1.35 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              7.       ลุ่มน้ำสาขาลำสะแทด

                        ลำสะแทด มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี ไหลผ่านอำเภอปะทาย จังหวัดนครราชสีมา ลงมาบรรจบแม่น้ำมูลตอนใต้ของอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ3,192 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 385 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 1.98ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              8.       ลุ่มน้ำสาขาลำเสียวใหญ่

                        ลำเสียวใหญ่ มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีลำน้ำสาขา คือลำเตา ลำเสียวใหญ่ และลำเสียวน้อย ไหลมาบรรจบกันเป็นลำเสียวใหญ่ที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดแล้วมาบรรจบกับห้วยก๊ากว๊ากเป็นลำเสียวไหลลงแม่น้ำมูลที่เหนือน้ำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 4,381 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 828 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 4.25ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              9.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยสำราญ

                        ห้วยสำราญ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาด้านใต้ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ไหลบรรจบกับห้วยแฮดที่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำมูล มีความยาวลำน้ำประมาณ 180 กม.มีปริมาณพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,549 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 1,016 ล้าน ลบ.ม.หรือประมาณร้อยละ 5.22 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              10.     ลุ่มน้ำสาขาห้วยขยุง

                        ห้วยขยุง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาด้านใต้ของ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ไหลผ่านอำเภอกันทรลักษ์ ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลก่อนถึงสบชี-มูล เล็กน้อย มีความยาวลำน้ำประมาณ 175 กม. โดยมีห้วยทาเป็นลำน้ำสาขามีความยาวประมาณ 160 กม. พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,356 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 1,466 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 7.53 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              11.     ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่

                        ลำโดมใหญ่ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาด้านใต้ของอำเภอน้ายืน จังหวัดอุบลราชธานี ไหลผ่านอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่ด้านเหนือของอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวลำน้ำประมาณ 220 กม. พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 4,909 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 2,440 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 12.53 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              12.     ลุ่มน้ำสาขาลำโดมน้อย

                        ลำโดมน้อย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาไหลผ่านอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี และไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่ด้านเหนือน้ำ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเล็กน้อย บนลำน้ำนี้ ได้มีการก่อสร้างเขื่อนสิรินธร เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้ประมาณ160,000 ไร่ มีความยาวลำน้ำประมาณ 127 กม. พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,197 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 1,667 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 8.56 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              13.     ลุ่มน้ำสาขาลำเซบาย

                        ลำเซบาย มีต้นกำเนิดจากสันปันน้ำของลุ่มน้ำเซบายและลุ่มน้ำห้วยบังอี ไหลผ่านอำเภอเลิงนกทาจังหวัดยโสธร อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี บรรจบกับแม่น้ำมูลก่อนถึง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเล็กน้อย พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,132 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ1,666 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 8.54 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

              14.     ลุ่มน้ำสาขาลำเซบก

                        ลำเซบก มีต้นกำเนิดจากที่บริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ไหลผ่านอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,665 ตร.กม.มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 1,986 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 10.18 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล

 

 

 

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำปิง

              ลุ่มน้ำปิงมีพื้นที่รับน้ำฝน 34,536.83 ตารางกิโลเมตร มีต้นกำเนิดในทิวเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอเชียงดาวไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านหุบเขา เมื่อเข้าเขตอำเภอแม่แตงมีน้ำแม่งัดไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้ายและน้ำแม่แตงไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาและไหลเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มในเขตจังหวัดเชียงใหม่ มีน้ำแม่กวงไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้ายที่บริเวณพื้นที่ของจังหวัดลำพูน จากนั้นแม่น้ำปิงจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีน้ำแม่ลี้ ซึ่งไหลจากอำเภอลี้ขึ้นมาทางเหนือมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอจอมทองทางด้านฝั่งซ้าย จากอำเภอจอมทองแม่น้ำปิงไหลลงใต้มีน้ำแม่แจ่มไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอดก่อนไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลที่อำเภอดอยเต่า สำหรับแม่น้ำปิงตอนล่างใต้เขื่อนภูมิพลนั้น แม่น้ำปิงจะไหลผ่านที่ราบและมาบรรจบกับแม่น้ำวังซึ่งไหลมาทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก และไหลผ่านที่ราบกว้างใหญ่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรไปบรรจบแม่น้ำน่านที่ปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ ลุ่มน้ำปิงครอบคลุมพื้นที่ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์

              การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำปิง ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา”ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ(ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการน้ำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

              เนื่องจากมีเขื่อนภูมิพลสร้างปิดกั้นลำน้ำปิงบริเวณอำเภอสามเงา จังหวัด ตาก ซึ่งอยู่ใกล้กับตอนกลางของลุ่มน้ำ สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทช.) ได้แบ่งการบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงแบ่งเป็นปิงตอนบนซึ่งเป็นพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพลและอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน และปิงตอนล่างอยู่ใต้เขื่อนภูมิพลในเขตจังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยการบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงตอนบนแบ่งการบริหารจัดการออกเป็นลุ่มน้ำสาขาได้ 15 ลุ่มน้ำสาขา ซึ่งการแบ่งลุ่มน้ำในปิงตอนบนของสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ บางลุ่มน้ำโดยเฉพาะส่วนที่อยู่ติดกับแม่น้ำปิงจะใช้แนวลำน้ำปิงเป็นเส้นแบ่งลุ่มน้ำสาขา ท้าให้ขอบเขตลุ่มน้ำแตกต่างจากที่แบ่งโดยคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา ตัวอย่างลุ่มน้ำปิงส่วนที่ 3 แม่ลี้ แม่อาว เป็นต้น ในขณะที่การบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงตอนล่างแบ่งการบริหารจัดการตามขอบเขตการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ ประกอบด้วย 4 อำเภอ ในจังหวัดตาก 10 อำเภอ ในจังหวัดกำแพงเพชร และ 4 อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ ผลจากการแบ่งตามขอบเขตการปกครองทำให้พื้นที่บางส่วนภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงตอนล่าง ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่อยู่นอกลุ่มน้ำปิง เช่น พื้นที่บางส่วนของจังหวัดตาก อยู่ในลุ่มน้ำวังตอนล่าง พื้นที่บางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ในลุ่มน้ำยมตอนล่าง และบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในลุ่มน้ำน่านตอนล่าง พื้นที่เหล่านี้ ในปัจจุบันบางส่วนมีการใช้น้ำจากลุ่มน้ำปิงเนื่องจากสภาพภูมิประเทศค่อนข้างราบ เช่น พื้นที่ในจังหวัดกำแพงเพชรที่อยู่ในเขตโครงการชลประทานวัง บัวโครงการคลองวังยาง โครงการหนองขวัญและโครงการคลองกระถิน เป็นต้น

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำวัง

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังตอนบน

                        แม่น้ำวังตอนบน มีพื้นที่ประมาณ 1,639.55 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณดอยหลวง บ้านป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ที่อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอวังเหนือบริเวณตำบลวังแก้ว เขตติดต่ออำเภอวังเหนือกับอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่อำเภอ  วังเหนือ และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 11 ตำบล มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญคือ ลุ่มน้ำแม่เย็น และลุ่มน้ำแม่ม่า

              2.       ลุ่มน้ำสาขาแม่สอย

                        แม่สอย มีพื้นที่ประมาณ 732.97 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แนวเขตแดนจังหวัดลำปางกับเชียงใหม่ ลุ่มน้ำแม่สอยอยู่ในเขตพื้นที่ในอำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองปาน รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 5 ตำบล มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำแม่ปาน และลุ่มน้ำแม่มอน

              3.       ลุ่มน้ำสาขาแม่ตุ๋ย

                        แม่ตุ๋ย มีพื้นที่ประมาณ 809.38 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาในเขตอำเภอเมืองปาน ไหลจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้เข้าเขตอำเภอเมืองลำปางก่อนไปบรรจบกับแม่น้ำวังที่อำเภอเมืองลำปาง พื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ในอำเภอเมืองปานและอำเภอเมือง รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 4 ตำบล

              4.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังตอนกลาง

                        แม่น้ำวังตอนกลาง มีพื้นที่ประมาณ 2,077.07 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง อำเภอเกาะคา และอำเภอแจ้ห่ม มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำแม่ยาว น้ำแม่ไพร น้ำแม่ตาล น้ำแม่เกียง รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 33 ตำบล

              5.       ลุ่มน้ำสาขาแม่จาง

                        แม่จาง มีพื้นที่ประมาณ 1,626.86 ตารางกิโลเมตร เป็นลุ่มน้ำสาขาขนาดกลางที่สำคัญลุ่มน้ำหนึ่งของลุ่มน้ำวัง มีต้นกำเนิดมาจากดอยหลวงกับดอยผาแดง ซึ่งเป็นแนวสันปันน้ำกับลุ่มน้ำงาว ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่ทะกับอำเภอแม่เมาะทั้งหมด มีทิศทางการไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปบรรจบกับแม่น้ำวังที่บ้านสบจาง ในเขตอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลำน้ำแม่เมาะ ลำน้ำแม่ทะ ลำน้ำแม่วะ รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 15 ตำบล

 

              6.       ลุ่มน้ำสาขาแม่ตา

                        แม่ตา มีพื้นที่ประมาณ 755.75 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเสริมงาม มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ไหลไปบรรจบแม่น้ำวังในเขตอำเภอสบปราบ มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือลุ่มน้ำแม่เลียงและน้ำแม่เสริม รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 4 ตำบล

              7.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังตอนล่าง

                        แม่น้ำวังตอนล่าง มีพื้นที่ 3,151.581 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ อำเภอสบปราบ อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก และพื้นที่ในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีลุ่มน้ำสาขาที่สำคัญ คือ ห้วยแม่พริก และห้วยแม่สลิด รวมตำบลที่อยู่ในพื้นที่ 22 ตำบล

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำยม

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำยมตอนบน

                        แม่น้ำยมตอนบน เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำยมอันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา อำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงมีที่ราบช่วงแคบๆบริเวณใกล้ๆลำน้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ น้ำงิม น้ำม่าว ห้วยเหิง น้ำแม่ผง น้ำแม่จั้ว ห้วยสระ น้ำแม่ปั๋ง ห้วยเหี๊ย ห้วยน้อย ห้วยปุงน้อย และน้ำแม่สะกึ๋น

              2.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำควร

                        แม่น้ำควร เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และอำเภอท่าวังผา กิ่งอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงมีที่ราบช่วงแคบๆบริเวณใกล้ๆลำน้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ น้ำปุก น้ำคาง ห้วยแม่สาว และน้ำควร

              3.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำปี้

                        น้ำปี้ เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนค่อนมาทางตะวันออกของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และกิ่งอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงมีที่ราบช่วงแคบๆบริเวณใกล้ๆลำน้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ น้ำปี้

              4.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำงาว

                        แม่น้ำงาว เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนค่อนมาทางตะวันตกของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่ อำเภองาว อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงมีที่ราบช่วงแคบๆบริเวณใกล้ๆลำน้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ น้ำงอน น้ำงาว แม่หวด ห้วยแม่พลึง น้ำแม่ทาง และห้วยหลาว

              5.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำยมตอนกลาง

                        แม่น้ำยมตอนกลาง เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสอง อำเภอม่วงไข่ อำเภอร้องกวาง อำเภอเด่นชัย อำเภอเมือง อำเภอลอง อำเภอสูงเม่น และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศเป็นแนวเขาขนาบข้าง ลาดเทลงมาหาลำน้ำยม ตรงกลางพื้นที่มีที่ราบขนาดใหญ่บริเวณสองฝั่งลำน้ำยม มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยแม่ใส ห้วยแม่สอง ห้วยแม่ต๋ำ ห้วยหม้าย ห้วยแม่ยาง ห้วยแม่ยางน้อย ห้วยผาด่าน ห้วยตาดยุบ น้ำแม่หล่าย น้ำแม่สาย น้ำแม่มาน ห้วยแม่จั๊ว และห้วยแม่พวก

 

              6.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่คำมี

                        น้ำแม่คำมี เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันออกของแม่น้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอม่วงไข่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศเป็นแนวเขาสูงทางฝั่งตะวันออกลาดเทมาทางตะวันตกเฉียงใต้มีที่ราบช่วงแคบๆบริเวณใกล้ๆลำน้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยแม่กระทิง แม่ถอน และน้ำแม่คำมี

              7.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ต้า

                        น้ำแม่ต้า เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอลอง อำเภอสอง อำเภอสูงเม่น และอำเภอม่วงไข่ จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศเป็นแนวเขาสูงลาดเทมาตามแนวเหนือ-ใต้ มีที่ราบช่วงแคบๆบริเวณใกล้ๆลำน้ำ แล้วขยายพื้นที่ราบออกในตอนปลายของลุ่มน้ำสาขา มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยแม่สวก และน้ำแม่ต้า

              8.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยแม่สิน

                        ห้วยแม่สิน เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางตอนล่างของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สภาพภูมิประเทศเป็นเนินเขาทางตะวันออกลาดเทมาทางตะวันตกเฉียงใต้ มีที่ราบบริเวณใกล้ๆลำน้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยแม่สูง และห้วนแม่สิน

              9.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่มอก

                        น้ำแม่มอก เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอด่านลานหอย อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย สภาพภูมิประเทศช่วงบนเป็นแนวเขาสูงทางฝั่งตะวันตกลาดเทมาในแนวเหนือ-ใต้ ช่วงล่างเป็นเนินสูงสลับที่ราบลาดเทไปทางทิศตะวันออก มีที่ราบช่วงกลาง-ปลายลุ่มน้ำสาขาบริเวณใกล้ๆลำน้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยแม่ริม ห้วยแม่วังช้างหลวง ห้วยริน ห้วยแม่มอก ห้วยแม่แสลมหลวง ห้วยแม่ทุเลา คลองกระยาง และคลองคาว

              10.     ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่รำพัน

                        น้ำแม่รำพัน เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดตาก อำเภอคีรีมาศ อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สภาพภูมิประเทศช่วงบนเป็นแนวเขาต่ำทางฝั่งตะวันตกลาดเทมาในแนวตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงล่างเป็นที่ราบลาดเทไปทางทิศตะวันออก มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ คลองกลางดง คลองบ่อเจ็ดวา และน้ำแม่รำพัน

 

              11.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำยมตอนล่าง

                        แม่น้ำยมตอนล่าง เป็นลุ่มน้ำสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเชร จังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ สภาพภูมิประเทศตามขอบลุ่มน้ำเป็นเนินต่ำๆจากนั้นเป็นที่ราบขนาดใหญ่ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมลาดเทลงมาตามแนวตะวันออกเฉียงใต้ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมลาดเทมาทางทิศตะวันตก มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยแม่ลาน ห้วยแม่กาง ห้วยแม่จอก ห้วยน้ำโจ้ ห้วยนา ห้วยแม่เกิ๋ง ห้วยแม่พุง ห้วยแม่สรอย ห้วยแม่แปรง ห้วยระแฮกลาง ห้วยสะท้อ ห้วยแม่สาน ห้วยหาดแก ห้วยแม่ราก ห้วยท่าแพ คลองน้ำไหล คลองแม่น้ำเก่า คลองวังมะขาม ห้วยน้ำโจน คลองพระองค์ คลองกลางดง คลองท่าหลวง คลองวังแร่ คลองบางแก้ว คลองน้ำหัก คลองพระพาย ห้วยใหญ่ ห้วยแก้ว และแม่น้ำพิจิตร

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำน่าน

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านตอนบน (0902)

                        แม่น้ำน่านตอนบน เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำน่านอันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง และอำเภอปัวจังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประมาณ 1,400-1,900 ม.รทก. และมีลำน้ำสายสำคัญ คือแม่น้ำน่าน ห้วยน้ำเปือ น้ำกอน และน้ำปัว พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนกลางจะเป็นภูเขาสูง ที่ลาดชัน และลดหลั่นเป็นเนินสูง ส่วนตอนล่างจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

              2.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยน้ำยาว (1) (0903)

                        ห้วยน้ำยาว เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสองแคว และอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประมาณ 1,000 ม.รทก. เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำยาว มีลำน้ำสายสำคัญ คือ น้ำยาว น้ำยอด และน้ำริม พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนกลางจะเป็นภูเขาสูงที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ส่วนตอนล่างจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

              3.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 2 (0904)

                        แม่น้ำน่านส่วนที่ 2 เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเมืองน่าน อำเภอเวียงสา กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ ส่วนตอนกลางและตอนล่างจะเป็นพื้นที่ราบตามแนวแม่น้ำน่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

              4.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำยาว (0905)

                        น้ำยาว เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสันติสุข และอำเภอปัว จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงประมาณ 1,100-1,200 ม.รทก.ประกอบด้วย ลำน้ำสายสำคัญ คือ น้ำยาว และห้วยข้าวหลาม สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำและจะเป็นพื้นที่ราบตามแนวห้วยน้ำยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

              5.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำสมุน (0906)

                        น้ำสมุน เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนค่อนมาทางตะวันตกของลุ่มน้ำน่านครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง และมีพื้นที่การเกษตรกรรมผืนเล็กๆ ตามแนวน้ำสมุน

 

 

              6.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 3 (0907)

                        แม่น้ำน่านส่วนที่ 3 เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาหมื่น อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูงจะเป็นพื้นที่ราบบ้างเล็กน้อยตามแนวลำน้ำสายหลักเป็นที่ตั้งอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

              7.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำสา (0908)

                        น้ำสา เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นต้นกำเนิดของน้ำสา ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากสันปันน้ำแบ่งเขตระหว่างอำเภอสา จังหวัดน่าน และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศมีระดับความสูงผันแปรจาก 700-1,300 ม.รทก. ที่ปลายลำน้ำช่วง 10 กม.สุดท้าย มีพื้นที่การเกษตรกรรมผืนใหญ่บนสองฝั่ง

              8.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำว้า (0909)

                        น้ำว้า เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางตะวันออกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ อำเภอแม่จริม และอำเภอเวียงสา จ.น่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีพื้นที่การเกษตรกรรมเพียงเล็กน้อย

              9.       ลุ่มน้ำสาขาน้ำแหง (0910)

                        น้ำแหง เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีแม่น้ำสายลำคัญคือ น้ำแหง ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากสันปันน้ำบ้านขุนสถาน (แบ่งระหว่างลุ่มน้ำยมที่อำเภอร้องกวาง)ความสูง 900 ม.รทก. ไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางฝั่งขวา มีพื้นที่การเกษตรกรรมเพียงเล็กน้อยตามที่ราบช่องเขา

              10.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 4 (0911)

                        แม่น้ำน่านส่วนที่ 4 เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อำเภอตรอน อำเภอท่าปลา อำเภอพิชัย อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาลาดชันบ้างเล็กน้อยบริเวณต้นน้ำรอยต่อกับลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม

              11.     ลุ่มน้ำสาขาน้ำปาด (0912)

                        น้ำปาด เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำน่านครอบคลุมพื้นที่อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก และอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้นกำเนินของน้ำปาดซึ่งเกิดจากสันปันน้ำแบ่งเขตประเทศไทย-ลาว ความสูงประมาณ 900 ม.รทก. ในเขตอำเภอบ้านโคก สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีพื้นที่การเกษตรกรรมบริเวณที่ราบตามลำน้ำปาดด้านท้ายน้ำ

              12.     ลุ่มน้ำสาขาคลองตรอน (0913)

                        คลองตรอน เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอตรอน อำเภอทองแสนขัน และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้นกำเนิดของคลองตรอน ซึ่งต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูเมี่ยงความสูง 1,200 ม.รทก. สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ และจะเป็นพื้นที่ราบตามแนวห้วยน้ำยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

              13.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (0914)

                        แม่น้ำแควน้อย เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย อำเภอพรหมพิราม อำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลกอำเภอทองแสนขัน และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้นกำเนินของแม่น้ำแควน้อย เกิดจาก ภูหนอง ความสูง1,200 ม.รทก. ในเขตอำเภอนครไทยซึ่งสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตกับอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูงจะเป็นพื้นที่ราบบ้างเล็กน้อยตามแนวลำน้ำสายหลัก เป็นที่ตั้งอ่างเก็บน้ำแควน้อย

              14.     ลุ่มน้ำสาขาน้ำภาค (0915)

                        น้ำภาค เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำภาค ซึ่งเกิดจากแนวสันปันน้ำชายแดนไทย-ลาวความสูง 1,600 ม.รทก. ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยทางฝั่งขวาที่เขตติดต่อระหว่างอำเภอนครไทยและอำเภอชาติตระการ น้ำภาคช่วงปลายแม่น้ำที่ไหลผ่านอำเภอชาติตระการมีพื้นที่การเกษตรผืนใหญ่บนสองฝั่ง

              15.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังทอง (0916)

                        แม่น้ำวังทอง เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้นกำเนิดของน้ำเข็ก ซึ่งเกิดจากสันปันน้ำกับห้วยน้ำหมันในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย ต้นน้ำสองฝั่งแม่น้ำเป็นที่สูงชันแล้วไหลผ่านช่องเขาแคบสูงชัน ไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางฝั่งซ้ายท้ายที่ตั้งจังหวัดพิษณุโลก สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ ช่วงกลางและล่างจะเป็นพื้นที่ราบที่ใช้ทำการเกษตรกรรม

              16.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านตอนล่าง (0917)

                        แม่น้ำน่านตอนล่าง เป็นลุ่มน้ำสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่านครอบคลุมพื้นที่อำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาก อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวังทรายพูน กิ่งอำเภอสากเหล็ก กิ่งอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร อำเภอเนินมะปราง อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลก อำเภอชนแดน อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยลำน้ำสำคัญหลายสาย เช่น คลองบุษบง ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาเนินมะค่า ความสูงประมาณ 1,000 ม.รทก. เป็นต้นสภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ ช่วงกลางและล่างจะเป็นพื้นที่ราบซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยา

              การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ, 2548 โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติและแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำสะแกกรัง

              การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำสะแกกรังได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ, 2548 โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติและแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำป่าสัก

              การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำป่าสัก ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ, 2548 โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำท่าจีน

                   การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำท่าจีน ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา”ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ(ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำแม่กลอง

                   แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากแม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง โดยแม่น้ำแควน้อย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบริเวณตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี ไหลผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อน วชิราลงกรณ์ อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค มาบรรจบกับลำภาชี ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่ตำบลกลอนโด อำเภอด่านมะขามเตี้ยแล้วจึงไหลมาบรรจบแม่น้ำแควใหญ่ที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี ส่วนแม่น้ำแควใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาตอนบนของอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไหลผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์เขื่อนท่าทุ่งนา อำเภอเมืองกาญจนบุรี มาบรรจบห้วยตะเพินซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี แล้วจึงไหลมาบรรจบแม่น้ำแควน้อยเป็นแม่น้ำแม่กลอง ผ่านอำเภอท่าม่วงและท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงครามแล้วจึงไหลออกสู่อ่าวไทย ที่บริเวณอำเภอเมืองสมุทรสงครามการแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำแม่กลอง ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ, 2548 โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติและแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำปราจีนบุรี

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง

                        คลองพระสทึง ประกอบด้วย 3 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอคลองหาด อำเภอเขาฉกรรจ์ และกิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ทั้งหมด 1,649,601 ไร่ อาณาเขตด้านทิศเหนือติดลุ่มน้ำสาขาคลองพระปรง ทิศตะวันออกติดลุ่มน้ำสาขาโตนเลสาปตอนบนและประเทศกัมพูชาทิศใต้ติดลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก ทิศตะวันตกติดลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาดและลุ่มน้ำสาขา แม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาทึงลึง เขาตะกวด และเขาตาพลาย ในเขตจังหวัดจันทบุรีไหลผ่านเขตอำเภอวังน้ำเย็น เขตอำเภอเขาฉกรรจ์ และเขตอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ไหลมาบรรจบกับคลองพระปรงที่บ้านท่าช้าง ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ คลองพลอก คลองกะวัดกองใหญ่ คลองกัดตะนาวใหญ่คลองตาหลัง คลองพระเพลิงใหญ่ คลองวังจิก เป็นต้น

              2.       ลุ่มน้ำสาขาคลองพระปรง

                        คลองพระปรง ประกอบด้วย 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ทั้งหมด 1,680,368 ไร่ อาณาเขตด้านทิศเหนือติดลุ่มน้ำหลักมูล ทิศตะวันออกติดลุ่มน้ำสาขาโตนเลสาปตอนบน ทิศใต้ติดลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง ทิศตะวันตกติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบนและลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน มีต้นกำเนิดจากภูเขียว เขาห้วยชัน เขาขมิ้น เขาเขียว เขาอีด่าง และเขาเทียน มีทิศทางการไหลจากด้านตะวันออกไปทางด้านตะวันตก จากอำเภอวัฒนานครไปสู่อำเภอเมืองสระแก้วคลองสายรองที่ไหลลงสู่คลองพระปรง ได้แก่ คลองยาง คลองมนโท คลองท่ากระบาก คลองยายเมือง นอกจากนี้ยังมีห้วยขนาดเล็กอีกหลายสายที่ไหลลงสู่คลองพระปรง เช่น ห้วยชัน ห้วยเกลือ ห้วยไคร้

              3.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน

                        แม่น้ำหนุมาน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่ทั้งหมด1,339,257 ไร่ อาณาเขตด้านทิศเหนือติดลุ่มน้ำหลักมูล ทิศตะวันออกติดลุ่มน้ำสาขาคลองพระปรง ทิศใต้ติดลุ่มน้ำสาขาคลองพระปรงและลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบน ทิศตะวันตกติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้แก่ เทือกเขาสันกำแพงเขาเกือกม้า ภูสามง่าม เขาว่าน และเขาใหญ่ ไหลผ่านเขตอำเภอนาดี มาบรรจบกับแม่น้ำพระปรง ที่บ้านตลาดใหม่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ลำน้ำย่อยที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยใสน้อย ลำน้ำใสใหญ่ ลำพระยาธาร และห้วยโสมง

              4.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง

                        แม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง ประกอบด้วย 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 1,362,886 ไร่ อาณาเขตด้านทิศเหนือติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำนครนายกและลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบน ทิศตะวันออกติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบน ทิศใต้ติดลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาดและลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำบางปะกงสายหลัก ทิศตะวันตกติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำบางปะกงสายหลักและลุ่มน้ำสาขานครนายก

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำบางปะกง

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำนครนายก (1602)

                        แม่น้ำนครนายก ประกอบด้วย 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อาณาเขตด้านทิศเหนือติดลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสักและลุ่มน้ำหลักมูล ทิศตะวันออกติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบนและลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนล่าง ทิศใต้ติดลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาดและลุ่มน้ำสาขาบางปะกงสายหลัก ทิศตะวันตกติดลุ่มน้ำหลักเจ้าพระยา

              2.       ลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาด (1603)

                        คลองท่าลาด ประกอบด้วย 5 อำเภอ คือ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอราชสาส์น อำเภอแปลงยาว และอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา อาณาเขตด้านทิศเหนือติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนล่าง และลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีสายหลักตอนบน ทิศตะวันออกติดลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง ทิศใต้ติดลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก ทิศตะวันตกติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำบางปะกงสายหลัก

              3.       ลุ่มน้ำสาขาคลองหลวง (1604)

                        คลองหลวง ประกอบด้วยพื้นที่ 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง และกิ่งอำเภอเกาะจันทร์

              4.       ลุ่มน้ำสาขาที่ราบแม่น้ำบางปะกง (1605)

                        ที่ราบแม่น้ำบางปะกง ประกอบด้วย 5 อำเภอและ 1 กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอบางปะกง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบ้านโพธิ์ และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา อาณาเขตด้านทิศเหนือติดลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำนครนายก ทิศตะวันออกติดลุ่มน้ำสาขาแม่ปราจีนบุรีสายหลักตอนล่างและลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาด ทิศใต้ติดลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออกและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดลุ่มน้ำหลักเจ้าพระยา

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำโตนเลสาป

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยลำสะโตน

                        ห้วยลำสะโตน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด เขาวง เขาพรานนุช และเขาสะแกกรอง ในเขตอำเภอตาพระยา ไหลลงด้านทิศตะวันออก ผ่านเขตอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ที่บ้านใหม่ไทยถาวรบ้านหนองติม บ้านกระสัง บ้านโคกจาน บ้านเจียงดำ และบ้านสะแง ไหลเข้าสู่ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยบริเวณช่องแสง ลำน้ำย่อยที่ไหลลงสู่ห้วยลำสะโตน ได้แก่ ห้วยตะโก คลองขาม คลองสองพี่น้อง คลองตราด คลองแจง คลองลุงกราด และห้วยยาง

              2.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยยาง

                        ห้วยยาง มีต้นกำเนิดจากเขาห้วยชัน เขาทะลาย เขาคันนา เขาตาพรหม ไหลผ่านเขตอำเภอวัฒนานคร และเขตกิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ลำน้ำย่อยที่ไหลลงสู่ห้วยยาง ได้แก่ คลองโป่งประทุน ห้วยยางน้อย ห้วยทรายใน ห้วยทรายนอก และห้วยตะเคียน ไหลเข้าสู่ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย บริเวณบ้านหนองจาน

              3.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยพรมโหด

                        ห้วยพรมโหด มีต้นกำเนิดจากเขาห้วยชัน ไหลผ่านเขตอำเภอวัฒนานคร และเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ลำน้ำย่อยที่ไหลลงสู่ห้วยพรมโหด ได้แก่ ห้วยกุดตาโป้ ห้วยหรมโหดน้อย ห้วยซัง ห้วยประพาน ห้วยอีพูด ห้วยพระไย ห้วยขี้ตุ่น ห้วยยาง ห้วยไผ่ ห้วยขุนปูน และห้วยกุดใต้ ไหลเข้าสู่ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย บริเวณบ้านท่าข้ามหลักเขตแดนที่ 49

              4.       ลุ่มน้ำสาขาคลองแผง

                        คลองแผง มีต้นกำเนิดจากเขาคันนา เขตอำเภอตาพระยา ไหลผ่านบ้านระเบิดขาม บ้านหนองไผ่ บ้านปางลาง และบ้านตาพระยา เข้าสู่ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย

              5.       ลุ่มน้ำสาขาคลองทรายขาว

                        คลองทรายขาว เป็นลำคลองที่มีต้นน้ำไหลมาจากเทือกเขาสอยดาว ผ่านตำบลทรายขาวตำบลสะตอน ไหลลงสู่เขตอำเภอโป่งน้ำร้อน

              6.       ลุ่มน้ำสาขาคลองโป่งน้ำร้อน

                        คลองโป่งน้ำร้อน ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเครือหวาย ลำคลองมีสภาพเป็นเกาะแก่ง โขดหินธรรมชาติ ไหลคดเคี้ยวไปตามร่องเนินเขา ผ่านหมู่บ้านในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน ลงสู่ประเทศกัมพูชา

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก

              ลักษณะของลำน้ำส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นลำน้ำสายสั้นๆ ไหลสู่ทะเลอ่าวไทย ลำน้ำสายสำคัญๆได้แก่ แม่น้ำประแสร์ คลองใหญ่ คลองวังโตนด แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราดการแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ, 2548 โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ“มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัยเรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้นโดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ ซึ่งแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกออกเป็น 6 ลุ่มน้ำสาขา

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำเพชรบุรี

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำเพชรบุรีตอนบน

                        แม่น้ำเพชรบุรีตอนบนหรือพื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีสายหลักเหนือเขื่อนเพชร มีพื้นที่ประมาณ 3,508 ตร.กม. พื้นที่ตอนบนเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตภูเขาสูง และพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ลาดเทจากทิศตะวันตกมาตะวันออก มีความลาดชันมากกว่า 35% ความสูงพื้นที่โดยเฉลี่ย 700 ม.รทก. ไม่เหมาะที่จะทำการเกษตรกรรมเพราะเป็นเนินเขาสูง โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นเขตวนอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างใต้เขื่อนแก่งกระจานถึงเขื่อนเพชรเป็นเขตที่ลาดเชิงเขาที่มีแม่น้ำสาขาสายสั้นและลำธารหลายสาย ลำน้ำสายสำคัญ ได้แก่ ห้วยสงไสยและห้วยผาก ซึ่งห้วยผากมีความยาวลำน้ำ 32 กม. ความจุลำน้ำประมาณ 120 ลบ.ม./วินาที (ที่สถานี B.8A) และมีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ1:600 ทั้งนี้ สภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำสาขาเป็นลูกคลื่นลอนลาดและมีที่ราบเชิงเขาสั้นๆ ตามแนวลำน้ำสายหลัก ความสูงพื้นที่โดยเฉลี่ย 100 ม.รทก. ลักษณะดินเกิดจากตะกอนทับถมมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ จึงเหมาะแก่การเกษตร และพื้นที่ด้านตะวันออกเป็นพื้นที่เขตที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ความสูงพื้นที่โดยเฉลี่ย 3 ม.รทก. มีการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมบางส่วนเป็นหาดทรายและสถานที่พักผ่อน เป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยว

              2.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำเพชรบุรีตอนล่าง

                        แม่น้ำเพชรบุรีตอนล่างหรือพื้นที่ท้ายเขื่อนเพชร มีพื้นที่ประมาณ 1,593 ตร.กม.เป็นเขตที่ราบลุ่ม ความสูงพื้นที่โดยเฉลี่ย 5 ม.รทก. เหมาะแก่การเกษตร พื้นที่ปัจจุบัน ได้แก่ พื้นที่เกือบทั้งหมดในเขตชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี โดยพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำมีน้ำทะเลท่วมถึง

              3.       ลุ่มน้ำสาขาห้วยแม่ประจันต์

                        ห้วยแม่ประจันต์ มีพื้นที่ประมาณ 1,152 ตร.กม. ลำน้ำสายหลัก ได้แก่ แม่น้ำห้วยแม่ประจันต์ ซึ่งมีความยาวลำน้ำ 56 กม. ความจุลำน้ำประมาณ 480 ลบ.ม./วินาที (ที่สถานี B.6) และมีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1 : 700 ทั้งนี้ สภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำสาขาโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขามีที่ราบริมแม่น้ำเล็กน้อย ตอนบนเป็นเขตพื้นที่เขาค่อนข้างสูงชัน ตอนล่างเป็นที่ราบลาดเชิงเขา มีความเหมาะสมต่อการเกษตรไม่มากนัก

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาคลองท่าตะเภา (2101)

                        คลองท่าตะเภา มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,099.75 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง มีคลองท่าตะเภาเป็นลำน้ำสายหลักที่สำคัญ โดยมีต้นกำเนิดจากทิวเขาตะนาวศรี เส้นกั้นจำกัดเขตระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า มีลำน้ำสาขาที่สำคัญ 2 สาย คือ คลองท่าแซะและคลองรับร่อ ไหลมาบรรจบกันกลายเป็นลำน้ำสายใหญ่ เรียกว่าคลองท่าตะเภา เมื่อไหลผ่านบ้านสามแก้วจะแยกเป็นคลองสามแก้ว-พนังตักไหลผ่านด้านเหนือของตัวเมืองชุมพร ส่วนคลองท่าตะเภาจะไหลผ่านตัวเมืองชุมพรไปบรรจบกับคลองท่านางสังข์ รวมเป็นแม่น้ำชุมพรแล้วไหลลงอ่าวไทยที่บ้านปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร คลองท่าตะเภามีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร ส่วนคลองท่าแซะที่เป็นลำน้ำสาขาที่สำคัญนั้นมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขต อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไหลจากทิศเหนือลงมาทิศใต้บรรจบกับคลองรับร่อที่บ้านปากแพรก อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร รวมความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร สำหรับคลองรับร่อ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาตะนาวศรีในเขต จ.ชุมพร ไหลจากทิศเหนือลงมาทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้มาบรรจบกับคลองท่าแซะ รวมความยาวประมาณ 78 กิโลเมตร

              2.       ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน (2102)

                        ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,137.44 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร และระนอง โดยแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่แยกจากกันคือพื้นที่ลุ่มน้ำในเขต  อ.ปะทิว ส่วนหนึ่ง และพื้นที่ลุ่มน้ำคลองชุมพร ลุ่มน้ำคลองสวีและลุ่มน้ำคลองตะโก ในพื้นที่ อ.เมืองชุมพร อ.สวี และอ.ทุ่งตะโกอีกส่วนหนึ่ง โดยมีลำน้ำที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ดังนี้

                        1) ลำน้ำสาขาในพื้นที่ อ.ปะทิว: เป็นกลุ่มคลองสายสั้นๆ ระบายน้ำจากพื้นที่ลงสู่อ่าวไทยในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันตก-ตะวันออก พื้นที่บริเวณต้นน้ำส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เชิงเขาหรือภูเขาที่ไม่สูงนักถัดมาเป็นพื้นที่ราบเขตเกษตรกรรมและพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวตลอดแนวเหนือใต้ คลองที่สำคัญในพื้นที่นี้ ได้แก่คลองบางสน ซึ่งเกิดจากการไหลรวมตัวของคลองสาขาต่างๆ เช่น คลองส้มแป้น คลองตะเคียน คลองวังช้าง เป็นต้น

                        2) ลำน้ำสาขาในพื้นที่ อ.เมือง อ.สวี และ อ.ทุ่งตะโก: ในพื้นที่นี้ มีคลองสาขาต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ คลองชุมพร คลองวิสัย คลองสวี และคลองตะโก ทั้งหมดเป็นคลองหรือลำน้ำสายสั้นๆ แต่ก็ยังมีความยาวมากกว่าลำน้ำสาขาในพื้นที่ อ.ปะทิว ส่วนใหญ่จะระบายน้ำในแนวตะวันตก-ตะวันออกลงสู่อ่าวไทย โดยมีความยาวของคลองจากต้นน้ำจนถึงชายฝั่งทะเลประมาณ 40, 30, 47 และ 25 กิโลเมตรตามลำดับ สภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำในพื้นที่ดังกล่าวนี้ สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะอย่างชัดเจนคือพื้นที่สูงและภูเขาสูงทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ถัดมาเป็นพื้นที่ราบบริเวณกลางน้ำ ซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญและพื้นที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเลในบริเวณปลายน้ำซึ่งบางบริเวณมีสภาพเป็นป่าชายเลน เช่น บริเวณปากน้ำคลองชุมพร ปากน้ำคลองสวี และปากน้ำคลองตะโก

              3.       ลุ่มน้ำสาขาคลองหลังสวน (2103)

                        คลองหลังสวน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,660.96 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนองระบบแหล่งน้ำในลุ่มน้ำคลองหลังสวนมีคลองหลังสวนเป็นลำน้ำสายหลักที่สำคัญ มีต้นกำเนิดจากแนวเทือกเขาที่กั้นระหว่างจังหวัดชุมพรกับจังหวัดระนอง ต้นน้ำคลองหลังสวน ประกอบด้วย ลำน้ำสาขาสองสายที่สำคัญคือ คลองยายหม่อนและคลองซงไหลมาบรรจบกันเป็นคลองหลังสวน โดยมีความยาวลำน้ำนับจาก ต้นน้ำคลองซงจนถึงจุดบรรจบทะเล ประมาณ 150 กิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำคลองหลังสวนกว่าร้อยละ 70 เป็นพื้นที่ภูเขาสูงวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 30 เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ใช้ทำการเกษตรประเภทไม้ผล สวนยางและปาล์มน้ำมัน จากสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำคลองหลังสวนดังกล่าว สามารถแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำออกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำทางด้านทิศใต้ ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของลุ่มน้ำ พื้นที่ส่วนนี้ เป็นพื้นที่ภูเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของคลองสาขาต่างๆ ของคลองหลังสวน ถัดมาเป็นพื้นที่กลางน้ำ ได้แก่ พื้นที่ราบแคบๆ ริมฝั่งคลองหลังสวนในเขต อ.พะโต๊ะ ต่อเนื่องถึงพื้นที่ราบขนาดใหญ่ใน อ.เมืองชุมพร พื้นที่นี้ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของลุ่มน้ำ ส่วนพื้นที่ราบลุ่มบริเวณปากน้ำคลองหลังสวนที่ไหลออกสู่ทะเล จัดเป็นพื้นที่ปลายน้ำ มีชุมชน อ.หลังสวน เป็นชุมชนปลายน้ำที่สำคัญ

              4.       ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 2 (2104)

                        ภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 2 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,278.33 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานี ระบบลำน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 2 ประกอบด้วยคลองสาขาหลายสาย โดยเป็นคลองสายสั้นๆ ส่วนมากมีต้นน้ำบริเวณแนวสันปันน้ำกับลุ่มน้ำตาปีและลุ่มน้ำคลองหลังสวนทางด้านทิศตะวันตกและไหลลงสู่อ่าวไทยทางด้านทิศตะวันออก คลองสาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองละแม คลองท่าชนะ คลองพุมเรียง คลองไชยา และคลองท่าฉาง โดยมีความยาวของคลองสาขาจากต้นน้ำจนถึงจุดระบายออกอ่าวไทยประมาณ และ 34, 42, 10.5, 20.5 และ 9 กิโลเมตรตามลำดับจากสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำที่ขนานยาวไปกับชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย มีพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำสายหลักต่างๆ ส่วนบริเวณต้นน้ำเป็นพื้นที่ภูเขาสูง สามารถแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำออกเป็น 3 ส่วนได้ชัดเจนคือ พื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่สูงและภูเขาทางทิศตะวันตกในบริเวณต้นน้ำของลำน้ำสาขาต่างๆ ถัดมาเป็นพื้นที่กลางน้ำ ได้แก่ พื้นที่ราบในตอนกลางสองฝั่งลำน้ำสายหลักซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ

 

 

              5.       ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 3 (2105)

                        ภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 3 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,181.86 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 3 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่เป็นเกาะ (เกาะที่สำคัญคือ เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า) และลุ่มน้ำในแผ่นดินใหญ่ ระบบลำน้ำในพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงันเป็นลำน้ำขนาดเล็กสายสั้นๆ ระบายน้ำจากพื้นที่ตอนกลางของเกาะที่เป็นภูเขาสูงออกสู่ทะเลทั้ง 4 ทิศ สภาพภูมิประเทศในบางพื้นที่ไม่สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะ (พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่กลางน้ำ และพื้นที่ปลายน้ำ) ได้ชัดเจนนักเนื่องจากมีลำน้ำที่สั้นมากส่วนระบบลำน้ำสาขาลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 3 ที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่จะมีขนาดลำน้ำสาขาโดยทั่วไปใหญ่กว่าและมีความยาวมากกว่าลำน้ำในเกาะสมุยและเกาะพะงัน สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ระบายน้ำจากต้นน้ำลงสู่ทะเลในแนวใต้-เหนือ และในแนวตะวันตก-ตะวันออก กลุ่มที่ระบายน้ำจากทิศใต้ไปออกทะเลอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือ ประกอบด้วยคลองต่างๆ ในเขต อ.กาญจนดิษฐ์ และ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีคลองสาขาที่สำคัญ เช่น คลองราม และคลองท่าทอง มีความยาวจากต้นน้ำถึงจุดระบายออกสู่อ่าวไทยประมาณ 16.5 และ 47 กิโลเมตรตามลำดับ สำหรับกลุ่มที่ระบายน้ำจากทิศตะวันตกออกสู่ อ่าวไทยทางทิศตะวันออกประกอบด้วยคลองต่างๆ ในเขต อ.ขนอม และ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช โดยมีคลองสาขาที่สำคัญเช่น คลองขนอม คลองท่าเรือรี คลองท่าทน และคลองหิน มีความยาวจากต้นคลองถึงจุดระบายออกสู่อ่าวไทยประมาณ 14, 21.5, 30 และ 5 กิโลเมตร ตามลำดับ สภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่นี้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะได้อย่างชัดเจน คือ พื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสาขาต่างๆถัดมาเป็นพื้นที่กลางน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ราบทำการเกษตร และพื้นที่ปลายน้ำด้านติดกับทะเลที่มีลักษณะเป็นน้ำกร่อยในบริเวณปากน้ำ บางพื้นที่เป็นสภาพเป็นป่าชายเลน บางพื้นที่เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและบางแห่งเป็นชุมชนติดชายฝั่งทะเล

              6.       ลุ่มน้ำสาขาคลองกลาย (2106)

                        คลองกลาย มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 675.18 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ อ.นบพิตำ อ.พิปูน อ.สิชล อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และบางส่วนของ อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ลุ่มน้ำคลองกลายมีคลองกลายเป็นลำน้ำหลักที่สำคัญ โดยมีต้นน้ำมาจากเทือกเขาสูง ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ แล้วไหลออกสู่ทะเลด้านอ่าวไทยทางทิศตะวันออกที่บ้านบางสาน อ.ท่าศาลา มีความยาวลำน้ำโดยประมาณ 70 กิโลเมตรมีลำน้ำสาขาหลายสาย ส่วนใหญ่เป็นสายสั้นๆ เช่น ห้วยนบพิตำ ห้วยจิก คลองกรุงชิง ห้วยปากเจา เป็นต้นสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำคลองกลายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ พื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาสูงทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ของลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นพื้นที่ป่า ถัดมาเป็นพื้นที่กลางน้ำซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบริมฝั่งคลองกลายในตอนกลางของพื้นที่ต่อเนื่องถึงพื้นที่ราบทางตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ และพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่งเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลมีชุมชนขนาดเล็กหลายชุมชนตลอดแนวชายฝั่ง

 

              7.       ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 4 (2107)

                        ภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 4 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 4,605.31 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 4 สามารถแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ใหญ่ๆ ได้คือ พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และกลุ่มพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กอื่นๆ ซึ่งเป็นลำน้ำสายสั้นๆ โดยมีสภาพลุ่มน้ำและลำน้ำที่สำคัญ ดังนี้

                        1) ลุ่มน้ำปากพนัง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราชครอบคลุมพื้นที่ในหลายอำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช บางส่วนของจังหวัดพัทลุงและจังหวัดตรัง มีแม่น้ำปากพนังเป็นแม่น้ำสายหลักมีต้นกำเนิดบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชบริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีทิศทางการไหลของน้ำจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือผ่าน อ.ชะอวด อ.เชียรใหญ่ และ อ.ปากพนังลงสู่อ่าวปากพนังบริเวณบ้านปากน้ำ อ.ปากพนัง รวมความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร มีลำน้ำสาขาที่สำคัญเช่น คลองลาไม ห้วยถ้าพระ คลองโคกยาง คลองฆ้อง คลองเชียรใหญ่ คลองบางไทร คลองหัวไทร คลองท่าพญา เป็นต้น

                        2) กลุ่มลุ่มน้ำขนาดเล็กอื่นๆ เป็นกลุ่มคลองขนาดเล็กสายสั้นๆ มีต้นกำเนิดจากเขาหลวงและเทือกเขาสวนอร่ามทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำ ไหลลงสู่ทะเลด้านอ่าวไทยทางด้านทิศตะวันออกในเขต อ.ท่าศาลา อ.พรหมคีรี และ อ.เมืองนครศรีธรรมราช โดยมีคลองสาขาที่สำคัญ เช่น คลองชุมขลิง คลองท่าแพ คลองท่าดี คลองหยวด คลองเสาธง เป็นต้น จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่สูงทางด้านทิศตะวันตกและลาดเทสู่พื้นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันออก จึงสามารถแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำที่เป็น 3 ลักษณะ คือพื้นที่ต้นน้ำทางด้านทิศตะวันตกบริเวณเขาหลวงและเทือกเขาสวนอร่ามซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำ/คลองสาขาในพื้นที่ ถัดมาเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบ เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ ซึ่งจัดเป็นพื้นที่กลางน้ำ และสุดท้ายคือพื้นที่ปลายน้ำที่ติดกับทะเลด้านอ่าวไทยเป็นแนวยาวรวมทั้งบริเวณปากแม่น้า พื้นที่ส่วนนี้ เป็นแหล่งชุมชนและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดจนป่าชายเลน (พบมากในเขต อ.เมือง) โดยมีชุมชน อ.เมืองนครศรีธรรมราชเป็นชุมชนที่สำคัญ

              8.       ลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี (2108)

                        คลองนาทวี มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,571.28 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.นาทวี อ.จะนะ และบางส่วนของ อ.เมือง อ.เทพา อ.นาหม่อม อ.สะเดา อ.หาดใหญ่ และ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ลุ่มน้ำคลองนาทวี มีคลองนาทวีเป็นลำน้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากเขาสันกาลาคีรีทางด้านทิศใต้ของลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นแนวเขตชายแดนกับประเทศมาเลเซีย ไหลผ่าน อ.นาทวี อ.จะนะ ลงสู่คลองน้ำเค็มและรวมกับคลองสะกอมก่อนไหลลงสู่อ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของลุ่มน้ำที่บ้านปากบาง อ.จะนะ จ.สงขลา รวมความยาวประมาณ 80 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองนาทับ คลองจะนะ คลองคู คลองทุ่งนาใน คลองทรายคลองใหญ่ คลองทับช้าง คลองเครียว เป็นต้น

 

              9.       ลุ่มน้ำสาขาคลองเทพา (2109)

                        คลองเทพา มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,822.39 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสงขลา ปัตตานี และยะลา ลุ่มน้ำคลองเทพา มีคลองเทพาเป็นลำน้ำสายหลัก คลองเทพาเป็นคลองขนาดใหญ่ มีต้นกำเนิดจากเขาตีโต๊กของเทือกเขาสันกาลาคีรีทางทิศใต้ของลุ่มน้ำ ไหลไปทางทิศเหนือผ่านอ.สะบ้าย้อย และ อ.เทพา แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่บ้านปากบางเทพา มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองลำทับ คลองสะนี้ คลองน้ำขุ่น คลองน้ำใส คลองลำพีระ คลองจะแหน คลองทุ่งไพล เป็นต้น สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเช่นเดียวกับลุ่มน้ำคลองนาทวี โดยมีพื้นที่ต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้เป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่กลางน้ำอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ราบริม 2 ฝั่งคลองเทพา และพื้นที่ปลายน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและปากน้ำคลองเทพา ซึ่งเป็นที่ตั้งของ อ.เทพา

              10.     ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง (2110)

                        ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,415.90 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และสงขลา พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มน้ำ 3 พื้นที่แยกจากกัน โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำคลองเทพาและลุ่มน้ำปัตตานีแทรกระหว่างกลาง ดังนี้ พื้นที่ส่วนที่ 1: เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กอยู่ระหว่างลุ่มน้ำคลองนาทวีและลุ่มน้ำคลองเทพา ในเขต อ.เทพา มีต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ซึ่งเป็นภูเขาเตี้ยๆ ลำน้ำในพื้นที่เป็นคลองขนาดเล็กสายสั้นๆ ยาวประมาณ 5-10 กิโลเมตร ระบายลงสู่พรุตรงกลางพื้นที่ลุ่มน้ำแล้วจึงระบายออกสู่อ่าวไทยทางด้านทิศเหนือพื้นที่ส่วนที่ 2: อยู่ระหว่างลุ่มน้ำเทพาและลุ่มน้ำปัตตานี หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ลุ่มน้ำคลองท่าเรือ” มีคลองท่าเรือเป็นลำน้ำสายหลักต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ ซึ่งเป็นแนวภูเขาสูงในเขต อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานีคลองท่าเรือ ประกอบด้วยคลองขนาดเล็กหลายสายมารวมกัน เช่น คลองท่าสาน คลองตูหยง คลองสายโฮ คลองชะเมา คลองพาน คลองทุ่งเหนือ คลองทรายขาว คลองตาแปด คลองท่าสวย และไหลออกทะเลได้หลายทาง เช่นบริเวณบ้านเกาะแลหนังและบ้านต้นหยงเปาว์ ในเขต อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ความยาวของคลองท่าเรือจากบริเวณต้นน้ำถึงจุดไหลออกสู่ทะเลประมาณ 60 กิโลเมตรพื้นที่ส่วนที่ 3: อยู่ระหว่างลุ่มน้ำปัตตานีและลุ่มน้ำแม่น้ำสายบุรี มีล้าน้าหลัก 2 สาย คือ คลองยะหริ่งและคลองบางมะรวด คลองยะหริ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มน้ำ ไหลขึ้นมาทางทิศเหนือสู่พื้นที่ราบในเขต อ.ยะหริ่ง ไหลผ่านตัว อ.ยะหริ่ง ออกสู่อ่าวบางปูหรืออ่าวปัตตานีที่บ้านบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี คลองยะหริ่ง ประกอบด้วยคลองสาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองยามู คลองสาบัน คลองบานอคลองลางสาด เป็นต้น ส่วนคลองบางมะรวดเป็นคลองที่เล็กและสั้นกว่าคลองยะหริ่ง ต้นกำเนิดแยกจากคลองชลประทานทางด้านทิศใต้แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่บ้านบางมะรวด อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี รวมความยาวประมาณ17.05 กิโลเมตร

 

 

              11.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสายบุรี (2111)

                        แม่น้ำสายบุรี มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,228.25 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ลุ่มน้ำสายบุรีเป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ลุ่มน้ำหนึ่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีแม่น้ำสายบุรีเป็นลำน้ำสายหลัก แม่น้ำสายบุรีมีลักษณะลุ่มที่เรียวยาวคล้ายขนนกมีต้นกำเนิดทางทิศใต้ บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซียที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือผ่าน อ.จะนะ อ.ศรีสาคร อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และไหลลงอ่าวไทยที่ ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี มีความยาวของลำน้ำประมาณ 195 กิโลเมตร โดยมีคลองสาขาสายสั้นๆไหลจากแนวสันปันน้ำทางด้านทิศตะวันออกและ ทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำสายบุรีที่ตรงกลางพื้นที่ลุ่มน้ำ คลองสาขาที่สำคัญของแม่น้ำสายบุรีที่มีขนาดใหญ่จะอยู่ทางทิศเหนือใกล้กับชายฝั่งทะเล ได้แก่ คลองบีโฆ คลองสายบุรี คลองไม้แก่น คลองกอตอ คลองปะดอซา เป็นต้น

              12.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำบางนรา (2112)

                        แม่น้ำบางนรา มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 1,655.37 ตร.กม.อยู่ในเขต จ.นราธิวาสลุ่มน้ำแม่น้ำบางนรามีลักษณะแบบพัด มีลำน้ำหลายสายและมีความยาวไม่มาก มีแม่น้ำบางนราเป็นลำน้ำสายหลัก ทอดตัวขนานกับชายฝั่งทะเล มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ 3 ทางคือ ที่ปากน้ำบางนรา อ.เมือง จ.นราธิวาส ปากน้ำที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส และระบายผ่านคลองน้ำแบ่งคลองสาขาในลุ่มน้ำแม่น้ำบางนราส่วนใหญ่เป็นคลองขนาดเล็กสายสั้นๆ ไหลผ่านพื้นที่พรุลงสู่แม่น้ำบางนรา สาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองสุไหงปาดี คลองตันหยงมัส แม่น้ำตากใบ และคลองน้ำแบ่ง ซึ่งเป็นคลองขุดเพื่อระบายน้ำจากแม่น้ำบางนราออกสู่ทะเลด้านอ่าวไทยสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำแม่น้ำบางนราแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ พื้นที่ต้นน้ำทางด้าน ทิศใต้ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาเตี้ยๆ ถัดมาเป็นพื้นที่กลางน้ำที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มป่าพรุและพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำ ส่วนพื้นที่บริเวณปากน้ำแม่น้ำบางนราทั้ง 2 แห่ง และพื้นที่ริมทะเลจัดเป็นพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันกับพื้นที่กลางน้ำ คือ มีพื้นที่พรุป่าชายเลนและพื้นที่เกษตรกรรม แต่ที่แตกต่างคือเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ ชุมชนเมืองนราธิวาสและชุมชน อ.ตากใบ

              13.     ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโกลก (2113)

                        แม่น้ำโกลก มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 691.88 ตร.กม. อยู่ในเขต จ.นราธิวาส ลุ่มน้ำโกลกมีลักษณะแบบขนนก มีแม่น้ำโกลกเป็นลำน้ำสายหลัก เป็นแม่น้ำแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียระหว่างเขตจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 120 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดอยู่บนเทือกเขาสันกาลาคีรีในพื้นที่ อ.แว้ง ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือผ่านพื้นที่ อ.แว้ง อ.สุไหงโกลก ไปรวมกับแม่น้ำบางนราที่ อ.ตากใบ ก่อนที่จะไหลออกสู่ทะเลด้านอ่าวไทยที่บ้านตาบา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส คลองสาขาของแม่น้ำโกลกในฝั่งประเทศไทยประกอบด้วยคลองขนาดเล็กสายสั้นๆ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโกลก เช่น คลองแว้ง คลองมาแย คลองโต๊ะแดง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำโกลกกับแม่น้ำบางนรากลุ่มคลองเหล่านี้ อยู่ทางด้านทิศเหนือของลุ่มน้ำ เช่น คลองชลประทาน คลองปูยู เป็นต้น

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำตาปี

                   การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำตาปี ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา”ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ(ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการน้ำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้าท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาทะเลสาบสงขลา (2301)

                        ทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 3,368.4 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วยลุ่มน้ำย่อยคลองอู่ตะเภา มีคลองอู่ตะเภาเป็นลำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 68 กิโลเมตรคลองอู่ตะเภาจะไหลผ่านเขตอำเภอสะเดาและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และลงสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านแหลมโพธิ์ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ ความจุลำน้ำประมาณ 420 ลบ.ม./วินาที มีความกว้างของลำน้ำเฉลี่ย10-34 เมตร มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:3000 – 1:200 มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ ฝายคลองวาด ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่รับประโยชน์ 5,000 ไร่อ่างเก็บน้ำคลองสะเดา ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นเขื่อนดินสูงประมาณ 27.5 เมตร ยาว 700 เมตร ความจุ 55.18 ล้านลบ.ม. เป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในกิจการประปาของเมืองหาดใหญ่และสงขลา อ่างเก็บน้ำคลองหลา ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เป็นเขื่อนดินสูง 20 เมตร ยาว 2,470 เมตร ความจุ 25 ล้านลบ.ม. มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 18,000 ไร่ อ่างเก็บน้ำคลองจ้าไหรตั้งอยู่ท้องที่ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา มีความจุ 6.00 ล้านลบ.ม. มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 10,800 ไร่ ลุ่มน้ำย่อยคลองรัตภูมิ มีคลองรัตภูมิเป็นลำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 63 กิโลเมตรต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่าน อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ก่อนลงสู่ทะเลสาบสงขลาไหลลงทะเลสาบที่บ้านบางหัก ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ ฝายชะมวงตั้งอยู่ท้องที่ตำบลชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นฝายสูง 3.00 เมตร ยาว 30 เมตร พื้นที่รับผลประโยชน์ 66,800 ไร่มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:65-1:500 ลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 3 ไม่มีลำน้ำสายใหญ่ไหลผ่าน จะมีเฉพาะลำน้ำขนาดเล็กสายสั้นๆ ไหลออกจากพื้นที่ลงทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทยลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 4 มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 204 ตารางกิโลเมตร มีคลองสายสั้นๆ ที่ไหลผ่านพื้นที่ ได้แก่คลองสำโรง คลองพะวง เป็นต้น

              2.       ลุ่มน้ำสาขาทะเลน้อย (2302)

                        ทะเลน้อย มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 600.02 ตารางกิโลเมตร มีลุ่มน้ำย่อยคลองป่าพะยอม มีคลองป่าพะยอมเป็นลำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัด ไหลผ่านเขต อำเภอป่าพะยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปลายน้ำแยกออกเป็น 2 สาย สายที่ 1ไหลลงสู่พรุควนเคร็ง จังหวัดพัทลุง และ จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ 2 ไหลรวมกับคลองท่าแนะที่บ้านประดู่เรียง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่อ่างเก็บน้าป่าพะยอม ตั้งอยู่ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง มีความจุ 20.5 ล้านลบ.ม. ฝายบ้านพร้าว ตั้งอยู่ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง หัวงานเป็นฝายสูง 2.80 เมตร ยาว 26 เมตร มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 35,700 ไร่ ความจุลำน้ำประมาณ 102 ลบ.ม./วินาที มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:120

              3.       ลุ่มน้ำสาขาทะเลหลวง (2303)

                        ทะเลหลวง มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 4,515.93 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ลุ่มน้ำย่อยคลองท่าแนะ มีคลองท่าแนะเป็นลำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 38 กิโลเมตร ต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่านเขต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ลงสู่ทะเลน้อยที่บ้านประเหนือ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ ฝายท่าแนะ ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง มีประตูระบายน้ำ 3 บานขนาด 6.50x6.50 เมตร พื้นที่รับผลประโยชน์ 17,500 ไร่ ความจุลำน้ำประมาณ 40 ลบ.ม./วินาที มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:800 ลุ่มน้ำย่อยคลองนาท่อม มีคลองนาท่อมเป็นล้ำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่านอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ลงสู่ทะเลหลวงที่บ้านลำปำ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ ฝายคลองนาท่อม ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง หัวงานเป็นฝายสูง 2.80 เมตรยาว 26 เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ 50,000 ไร่ ฝายพญาโฮ้งตั้งอยู่ท้องที่ตำบลชะโด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงฝายสูง 2.80 เมตร ยาว 26 เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ 17,000 ไร่ ฝายคลองหลักสามตั้งอยู่พื้นที่ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ฝายสูง 2.30 เมตร ยาว 30.00 เมตร มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 30,000 ไร่ ความจุลำน้ำประมาณ 95 ลบ.ม. มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:750 ลุ่มน้ำย่อยคลองท่าเชียดมีคลองท่าเชียดเป็นลำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่านเขตอำเภอตะโหมด และ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ลงสู่ทะเลสาบที่บ้านปากพล ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสนมีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง (กำลังก่อสร้าง) มีความจุ 21.6 ล้านลบ.ม. ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง พื้นที่รับประโยชน์ 38,000 ไร่ ฝายควนกุฏิตั้งอยู่ท้องที่ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นฝายสูง 1.07 เมตร ยาว 21.70 เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ 38,700 ไร่ มีโครงการขนาดใหญ่คือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียด ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง หัวงานเป็นฝายสูง 3.00 เมตร ยาว 45.50 เมตร มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 103,300 ไร่ ความจุลำน้ำประมาณ175 ลบ./วินาที มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:1,200 ลุ่มน้ำย่อยคลองป่าบอนมีคลองป่าบอนเป็นลำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่านเขต อำเภอป่าบอน และอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ลงสู่ทะเลสาบที่บ้านพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ อ่างเก็บน้าป่าบอน ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง เป็นเขื่อนดินสูง 46.00 เมตร ยาว 750 เมตร ความจุอ่างเก็บน้ำ 20.20 ล้านลบ.ม. ฝายป่าบอน ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง เป็นฝายสูง 2.40 เมตร ยาว 20.00 เมตร พื้นที่รับผลประโยชน์ 7,000 ไร่ความจุลำน้ำประมาณ 155 ลบ.ม./วินาที มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:120 ลุ่มน้ำย่อยคลองพรุพ้อ มีคลองพรุพ้อเป็นลำน้ำสายหลักความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัดไหลลงทะเลสาบที่บ้านท่าหยี ตำบลห้วยลึกอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีความลาดชันเฉลี่ยของลำน้ำ (Average Slope) ประมาณ 1:300 ลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 1 ไม่มีลำน้ำใหญ่ไหลผ่าน จะมีเฉพาะลำน้ำขนาดเล็กสายสั้นๆไหลออกจากพื้นที่ลงสู่ทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่โครงการสูบน้ำทุ่งระโนด ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีเครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง ขนาดเครื่องละ 2.2 ลบ.ม./วินาที มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 11,500 ไร่ ปตร.ปากระวะตั้งอยู่ท้องที่ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 35,000 ไร่ ฝายระวะตั้งอยู่ท้องที่ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีพื้นที่รับผลประโยชน์ 7,000 ไร่ ลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันออก 2 ไม่มีลำน้ำ สายใหญ่ไหลผ่าน จะมีเฉพาะลำน้ำขนาดเล็กสายสั้นๆ ไหลออกจากพื้นที่ลงทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำปัตตานี

              สภาพลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขามีดังนี้

              1.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปัตตานีตอนบน

                        แม่น้ำปัตตานีตอนบน กำหนดขอบเขตของลุ่มน้ำตามแนวสันปันน้ำทางด้านทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สำหรับด้านทิศใต้ใช้แนวของหัวงานเขื่อนบางลางเป็นแนวแบ่งเขต โดยพื้นที่เหนือน้ำของเขื่อนบางลางทั้งหมดอยู่ในเขตลุ่มน้ำแม่น้ำปัตตานีตอนบน มีแม่น้ำปัตตานีเป็นลำน้ำสายหลัก มีต้นน้ำจากเทือกเขาแนวเขตชายแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียและแนวเทือกเขาสันปันน้ำกับลุ่มน้ำแม่น้ำสายบุรีในเขตอำเภอเบตง แม่น้ำปัตตานีไหลขึ้นทิศเหนือผ่านพื้นที่ อำเภอเบตง ลงสู่เขื่อนบางลาง ที่ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา รวมความยาวประมาณ 65 กิโลเมตร มีลำน้ำสาขาหลายสายไหลจากแนวสันปันน้ำทางด้านทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำปัตตานีที่อยู่ตอนกลางของพื้นที่ คลองสาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองฮาลาคลองอัยยะปารัง คลองบ้านแหร เป็นต้น

              2.       ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปัตตานีตอนล่าง

                        แม่น้ำปัตตานีตอนล่าง เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ต่อเนื่องมาจากลุ่มน้ำแม่น้าปัตตานีตอนบนโดยนับตั้งแต่ด้านท้ายน้ำของเขื่อนบางลางขึ้นมาทางทิศเหนือไปตามขอบเขตของลุ่มน้ำปัตตานี โดยมีแม่น้ำปัตตานีเป็นลำน้ำสายหลัก ไหลจากท้ายเขื่อนบางลางผ่าน อำเภอบันนังสตา อำเภอกรงปินัง อำเภอเมืองยะลา เข้าเขตจังหวัดปัตตานี ผ่านอำเภอแม่ลาน อำเภอเมืองปัตตานี และไหลออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองปัตตานี รวมความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองเล็ก คลองปะแต คลองลิจิง เป็นต้น

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

ระบบลุ่มน้ำของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

                   การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำโดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติและแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆ ในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555

 

aaaazxczxczxcafasdsadasdas

              ลุ่มน้ำปิงมีพื้นที่รับน้ำฝน 34,536.83 ตารางกิโลเมตร มีต้นกำเนิดในทิวเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอเชียงดาวไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านหุบเขา เมื่อเข้าเขตอำเภอแม่แตงมีน้ำแม่งัดไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้ายและน้ำแม่แตงไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาและไหลเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มในเขตจังหวัดเชียงใหม่ มีน้ำแม่กวงไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้ายที่บริเวณพื้นที่ของจังหวัดลำพูน จากนั้นแม่น้ำปิงจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีน้ำแม่ลี้ ซึ่งไหลจากอำเภอลี้ขึ้นมาทางเหนือมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอจอมทองทางด้านฝั่งซ้าย จากอำเภอจอมทองแม่น้ำปิงไหลลงใต้มีน้ำแม่แจ่มไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอดก่อนไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลที่อำเภอดอยเต่า สำหรับแม่น้ำปิงตอนล่างใต้เขื่อนภูมิพลนั้น แม่น้ำปิงจะไหลผ่านที่ราบและมาบรรจบกับแม่น้ำวังซึ่งไหลมาทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก และไหลผ่านที่ราบกว้างใหญ่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรไปบรรจบแม่น้ำน่านที่ปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ ลุ่มน้ำปิงครอบคลุมพื้นที่ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์

              การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำปิง ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา”ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ(ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการน้ำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

              เนื่องจากมีเขื่อนภูมิพลสร้างปิดกั้นลำน้ำปิงบริเวณอำเภอสามเงา จังหวัด ตาก ซึ่งอยู่ใกล้กับตอนกลางของลุ่มน้ำ สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทช.) ได้แบ่งการบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงแบ่งเป็นปิงตอนบนซึ่งเป็นพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพลและอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน และปิงตอนล่างอยู่ใต้เขื่อนภูมิพลในเขตจังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยการบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงตอนบนแบ่งการบริหารจัดการออกเป็นลุ่มน้ำสาขาได้ 15 ลุ่มน้ำสาขา ซึ่งการแบ่งลุ่มน้ำในปิงตอนบนของสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ บางลุ่มน้ำโดยเฉพาะส่วนที่อยู่ติดกับแม่น้ำปิงจะใช้แนวลำน้ำปิงเป็นเส้นแบ่งลุ่มน้ำสาขา ท้าให้ขอบเขตลุ่มน้ำแตกต่างจากที่แบ่งโดยคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา ตัวอย่างลุ่มน้ำปิงส่วนที่ 3 แม่ลี้ แม่อาว เป็นต้น ในขณะที่การบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงตอนล่างแบ่งการบริหารจัดการตามขอบเขตการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ ประกอบด้วย 4 อำเภอ ในจังหวัดตาก 10 อำเภอ ในจังหวัดกำแพงเพชร และ 4 อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ ผลจากการแบ่งตามขอบเขตการปกครองทำให้พื้นที่บางส่วนภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำปิงตอนล่าง ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่อยู่นอกลุ่มน้ำปิง เช่น พื้นที่บางส่วนของจังหวัดตาก อยู่ในลุ่มน้ำวังตอนล่าง พื้นที่บางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ในลุ่มน้ำยมตอนล่าง และบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในลุ่มน้ำน่านตอนล่าง พื้นที่เหล่านี้ ในปัจจุบันบางส่วนมีการใช้น้ำจากลุ่มน้ำปิงเนื่องจากสภาพภูมิประเทศค่อนข้างราบ เช่น พื้นที่ในจังหวัดกำแพงเพชรที่อยู่ในเขตโครงการชลประทานวัง บัวโครงการคลองวังยาง โครงการหนองขวัญและโครงการคลองกระถิน เป็นต้น

ที่มา :      กรมทรัพยากรน้ำ

              จากการดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน),กุมภาพันธ์ 2555